บทความเกษตร » การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ไว้ใช้งานเอง ประหยัดต้นทุน

การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ไว้ใช้งานเอง ประหยัดต้นทุน

1 เมษายน 2023
670   0

การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ไว้ใช้งานเอง ประหยัดต้นทุน

การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ


ปุ๋ย หมายถึง วัสดุที่ให้ธาตุอาหารแก่พืช ส่วนพระราชบัญญัติปุ๋ย 2518 ได้ให้คำจำกัดความ ปุ๋ยไว้ว่า ” ปุ๋ย ” หมายถึง สารอินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใดหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช นักวิชาการปุ๋ยโดยทั่วไปสามารถจำแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ

นิยาม ” ปุ๋ยชีวภาพ”

คำว่า ” ปุ๋ยชีวภาพ ” (Bio-fertilizer) นั้นเป็นคำศัพท์ทางด้านปุ๋ยที่ใช้กันทั่วๆ ไปในหลักวิชาการปุ๋ยสากล โดยได้มีการบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า biological fertilizer ซึ่งเป็นการนำคำว่า ” ปุ๋ย” (fertilizer) หมายถึง ธาตุอาหารพืช กับคำว่า ” ชีวภาพ” (Biological) หมายถึง สิ่งที่มีชีวิต มาสมาสกัน ดังนั้นเจตนาที่บัญญัติคำนี้ จึงให้หมายถึง ” ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช” หรือ เรียกว่า ” ปุ๋ยจุลินทรีย์” ตามคำจำกัดความนี้จะเห็นได้ว่าไมใช้จุลินทรีย์ทุกชนิดจะใช้ผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ แต่ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถสร้างธาตุอาหารขึ้นทางชีวภาพแล้วแบ่งให้พืชใช้ได้หรือมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะเจาะจงในการสร้างสารบางอย่างออกมา มีผลทำให้ช่วยเพิ่มปริมาณรูปที่เป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารหลักที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม

วัตถุดิบ/อุปกรณ์

  • มูลขี้ไก่  10  กระสอบ
  • รำละเอียด  10  กระสอบ
  • แกลบดิน  10  กระสอบ
  • ขุยมะพร้าว 6 กระสอบ
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น  5  ลิตร
  • น้ำเปล่า  30  ลิตร

วิธีทำ

  • นำมูลขี้ไก่ รำละเอียด แกลบดิน และขุยมะพร้าว มาผสมคลุกเคล้าให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
  • ผสมน้ำกับหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นให้เข้ากัน รดลงบนกองวัสดุ และผสมให้เข้ากันจนมีความชื้นประมาณ 35%  โดยทดลองกำดู จะเกาะกันเป็นก้อนได้แต่ไม่เหนียว และเมื่อปล่อยทิ้งลงพื้น จากความสูงประมาณ1 เมตร ก้อนปุ๋ยจะแตก แต่ยังมีรอยนิ้วมือเหลืออยู่
  • เมื่อคลุกเคล้าเข้ากันดีแล้ว ใช้กระสอบป่านเก่า ๆ คลุมทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ตรวจดูว่ากลิ่นหอม ไม่มีไอร้อน ก็สามารถนำไปใช้หรือจำหน่ายได้

เคล็ดลับ
ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกันเป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลยแสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเชียส ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้วสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม

วิธีการใช้

  • ผสมปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร  พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น ข้าวโพด ถั่วฝักยาว แตงกวา และฟักทอง
  • ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชีวภาพคลุกกับดินรองกันหลุมก่อนปลูกกล้าผัก ประมาณ 1 กำมือ
  • ไม้ผล ควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแนวทรงพุ่ม 1-2 กำมือ ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง หรือฟาง แล้วรดน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม
  • ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

  1. เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตในดิน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา และแอคติโนมัยซีส
  2. ให้ธาตุอาหาร และกระตุ้นให้จุลินทรีย์สร้างอาหารกว่า 93 ชนิดแก่พืช
  3. ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติและโครงสร้างดินให้ดีขึ้น
  4. ช่วยดูดซับหรือดูดยึดธาตุอาหารไว้ให้แก่พืช
  5. ช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดิน ให้อยู่ในระดับที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
  6. ช่วยกำจัดและต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคต่าง ๆ
  7. ทำให้พืชสามารถสร้างพิษได้เอง ช่วยให้ต้านทานโรคและแมลงได้ดี

ที่มา | องค์ความรู้โดย นายอาแว หูสตู ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส  www.withikaset.com


บทความอื่นที่น่าสนใจ