บทความเกษตร » วิธีเลี้ยงแพะมือใหม่ เริ่มต้นอย่างไรดี

วิธีเลี้ยงแพะมือใหม่ เริ่มต้นอย่างไรดี

31 มีนาคม 2023
1618   0

วิธีเลี้ยงแพะมือใหม่ เริ่มต้นอย่างไรดี

วิธีเลี้ยงแพะมือใหม่

วิธีเลี้ยงแพะมือใหม่


สวัสดีทุกท่าน บทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับสัตว์เลี้ยงที่ชื่อว่า “แพะ” กันครับ ซึ่งเราจะพามาทำความเข้าใจกับ วิธีเลี้ยงแพะมือใหม่ เริ่มต้นอย่างไรดี ก่อนที่จะลงมือเลี้ยง สำหรับการเลี้ยงแพะในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่ยังเลี้ยงปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ

ลักษณะการเลี้ยงของเกษตรกรยังขาดการใช้หลักวิชาการ เพราะมักจะเข้าใจว่าแพะสามารถหากินได้เก่ง ถึงกับมีคำกล่าวว่าแพะเป็นสัตว์ล้างโลกกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เนื่องจากเห็นแพะเที่ยวหากินเศษพืชผัก เปลือกผลไม้ กระดาย หรือแม้ถุงพลาสดิกที่ทิ้งอยู่ในตลาดสด ซึ่งความจริงแล้วแพะเป็นสัตว์ที่ช่างเลือกกินถ้ามีพืชอาหารให้เลือกมันจะเลือกกินส่วนใบและยอดอ่อน แต่จะไม่กินส่วนก้านหรือลำต้น ดังนั้นหากผู้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ในการเลี้ยงให้ถูกต้อง ผลตอบแทนที่ได้จากแพะจะน้อยลงเป็นเงาตามตัว เช่นสุขภาพทั่วไปไม่สมบูรณ์ ให้ลูกตัวเดียวแทนที่จะเกิดลูกแฝด อัตราการดายของลูกระยะก่อนหย่านมสูง เป็นต้น

เรามาดู ข้อดีในการเลี้ยงแพะ

  • การเลี้ยงแพะนั้นสามารถให้ผลผลิตและผลตอบแทนที่รวดเร็วกว่าการเลี้ยงโคหรือสัตว์ใหญ่ประเภทอื่นๆ
  • แพะเป็นสัตว์ที่หากินเก่ง กินพืชใบไม้ได้หลายชนิด เช่น หญ้าสด กระถิน ใบไม้ เป็นต้น
  • แพะทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ และ แพะมีขนาดตัวเล็ก ใช้พื้นที่น้อย เลี้ยงดูง่าย
  • แพะสามารถให้ผลผลิตได้แถบทุกส่วนไม่ว่าจะเป็น เนื้อ นม หนัง ขน

พันธุ์แพะและการตัดสินใจเลือกพันธุ์แพะมาเลี้ยง

สำหรับพันธุ์ของแพะที่นิยมนำมาเลี้ยงมีหลายประเภท แต่สายพันธุ์ที่กรมปศุสัตว์วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถเลี้ยงได้ในประเทศไทย ซึ่งสายพันธุ์หลัก มีดังนี้

  • แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglonubian) เป็นแพะที่ให้ทั้งเนื้อและนม มีหลายสี ทั้งสีเดียวในตัว หรือมีสีด่างปน สันจมูกมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง ใบหูยาวปรกลง กรมปศุสัตว์ นำเข้ามาเลี้ยงขยายพันธุ์กว่า 20 ปีแล้ว เพื่อปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองให้มีขนาคใหญ่ขึ้น
    แพะพันธุ์บอร์ (Boer)
  • แพะพันธุ์บอร์ (Boer) แพะพันธุ์บอร์ เป็นพันธุ์แพะเนื้อที่ถูกเลือกให้เป็นแพะเนื้อในอุดมคติของหลายประเทศรวมทั้งของประเทศไทย ตัวใหญ่ และมีทรงเหลี่ยม มัดกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ ลักษณ์เด่นของแพะพันธุ์นี้ คือหัวและคอมีสีน้ำตาลแดงจนถึงน้ำตาลดำ ดั้งจมูกงุ้ม ลำตัวสีขาว ใบหูยาวและปรก เมื่อโตเต็มที่เพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 110-135 กก. และเพศเมี่ยมีน้ำหนักประมาณ 90-100 กก. แต่ขนาดความใหญ่โตของร่างกายก็ขึ้นอยู่กับการจัดการเลี้ยงดู ส่วนการนำแพะบอร์พันธุ์แท้หรือบอร์เลือดสูงไปเลี้ยงในสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพาราเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง เพราะบอร์พันธุ์แท้ตัวใหญ่ ปริมาณและคุณค่าทางโภชนะของอาหารหยาบในสวนอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการเติบโต และการแสดงศักยภาพทางพันธุกรรมเว้นเสียแต่ว่าผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมการเรื่องอาหารหยาบอย่างดี
  • แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen) เป็นแพะพันธุ์นม มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้ รับฉายาว่าเป็นราชินีแห่งแพะนมเพราะให้น้ำนมดีช่วงเวลาการรีดค่อนข้างยาว ลักษณะเด่นของแพะพันธุ์นี้ คือ มีลำตัวสีขาว หรือสีครีม หูสั้นและตั้งตรงชี้ไปข้างหน้าและอาจจะมีติ่งเล็ก (wattle) ใต้ต้นคอ หรือไม่มีก็ได้ เมื่อโตเต็มที่เพศผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 50-60 กก. และเพศเมียมีน้ำหนักตัวประมาณ 45-55 กก. ปกติแพะพันธุ์นี้ให้น้ำนมเฉลี่ย 2.5-3.0 กก/ตัว/วัน ให้น้ำนมนาน 250-290 วัน น้ำนมมีไขมันประมาณ 3.3% แพะซาเนนพันธุ์แท้และซาเนนเลือดสูงเกิน 75% อาจจะไม่เหมาะที่จะนำไปเลี้ยงในสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพารา เพราะความชื้นในสวนอาจจะสูงเกินไป และหากใช้ทางใบปาล์มน้ำมันเป็นอาหารหยาบหลัก แพะจะได้รับโภชนะที่ไม่เพียงพอ แต่ถ้าจะเลี้ยงก็สามารถทำได้ถ้ามีวางระบบการจัดการโรงเรือนที่ดีเน้นการเลี้ยงแบบประณีต และมีการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ร่วมด้วยก็สามารถเลี้ยงได้
  • แพะพันธุ์หลาวซาน (Laoshan) รัฐบาลจีนได้น้อมเกล้า ฯ ถวาย สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ จำนวน 2 คู่ เป็นแพะนมมีขนสีขาวยาวเล็กน้อย แต่จะยาวมากบริเวณแก้ม หูสั้นชี้ตั้ง
    • น้ำหนักแรกเกิด 1-1.5 กก.
    • โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 80 กก.
    • เพศเมียหนัก 60 กก.
    • ผลผลิตนมเฉลี่ย 2.2 ลิตร/วัน
  • แพะพันธุ์อัลไพน์ (Alpine) เป็นแพะพันธุ์นม สีน้ำตาลหรือดำ ใบหูเล็กตั้ง หน้าตรง มีแถบสี ข้างแก้ม
  • แพะพันธุ์แบล็คเบงกอล (Black Bengal)แบล็คเบงกอล ถือว่าเป็นแพะพื้นเมืองของประเทศบังคลาเทศ บางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ อินเดีย และภาคตะวันตกของพม่ารัฐบาลบังคลาเทศ ได้น้อมเกล้าถวายแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ.2553 กล่าวได้ว่าเป็นแพะเนื้อขนาดเล็ก (25-35 กก.) เหมาะสมสำหรับ การเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งในสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพารา เพราะตัวเล็กใกล้เคียงกับแพะพื้นเมืองไทย เพศเมียมีอัตราการผสมติดสูงและ ให้ลูกดก มีเปอร์เซ็นต์การให้ลูกแฝดสูงสามารถปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
  • พันธุ์พื้นเมือง (Native)ตัวมีขนาดเล็กมีสีหลากหลาย ใบหูเล็กตั้ง สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตกลูกปีละ 2 ครอก ใช้พื้นที่เลี้ยงต่อตัวน้อย มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม กินอาหารพวกพืชได้หลายชนิด น้ำหนักแรกเกิด 1-1.5 กก. โตเต็มที่ เพศผู้หนัก 25 กก. เพศเมียหนัก 20 กก. ผลผลิตนมเฉลี่ย 0.2-0.3 ลิตร/วัน ระยะการให้นมประมาณ 120 วัน
  • แพะพันธุ์พื้นเมืองแพะพันธุ์พื้นเมืองในภาคใต้ มีสีหลากหลายส่วนใหญ่พบมีสีดำ น้ำตาลหรือน้ำตาลสลับดำสูงถึง 60 เปอร์เซ็นด์ นอกนั้นจะมีสีขาว เหลือง หรือสีด่างแพะโดเต็มที่เพสเมืยมีความสูงตรงปุ๊มขาหน้า เฉลี่ย 48.5 ชม. แพะของเกษตรกรเลี้ยงดูในชนบท เพสเมียอายุ 1 ปี มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 12.8 กก. แต่ถ้ามีการจัดการที่ดีจะมีน้ำหนักตัว 16.4 กก. แพะพันธุ์พื้นเมืองไทยมีลักษณะคล้ายกับแพะพันธุ์กัตจัง พันธุ์พื้นเมืองของประเทสมาเลเชีย

การตัดสินใจเลือกพันธุ์แพะมาเลี้ยง

การเลือกแพะมาเลี้ยงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้เลี้ยงจะต้องวางแผนให้รอบคอบ เพราะต้องการออกแบบระบบการเลี้ยงให้เหมาะสมกับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ตลาด และกำลังของผู้เลี้ยงเอง โดยเฉพาะถ้านำแพะไปเลี้ยงในสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพารา ต่อไปนี้ คือ แนวคิดสำหรับใช้ในการตัดสินใจ

วิธีเลี้ยงแพะมือใหม่

1. จะตัดสินใจเลือกเลี้ยงแพะพันธุ์เนื้อ หรือพันธุ์นม ?

คำตอบในประเด็นนี้ คือ ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักตลาดที่จะจำหน่ายก่อน ทั้งนี้เพราะหากลงทุนเลี้ยงแพะโดยไม่มีการวางแผนที่ดี เช่น ผู้เลี้ยงลงทุนเลี้ยงแพะนม แต่ไม่ได้วางแผนในเรื่องการจำนวนแพะที่จะเลี้ยง จำนวนน้ำนมดิบที่จะรีดได้ อาหารและแปลงหญ้า สถานที่จำหน่ายน้ำนม หรือวิธีการแปรรูปน้ำนมย่อมจะทำให้ผู้เลี้ยงอยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยง

อนึ่ง นอกจากตลาดที่จะจำหน่ายแล้ว สถานที่ที่จะเลี้ยงแพะก็เป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณา ในกรณีที่เลี้ยงแพะในสวนปาล์มน้ำมัน (รวมทั้งสวนยางพารา) ซึ่งมีความชื้นสูง ก็จำเป็นจะต้องใส่ใจในเรื่องการออกแบบโรงเรือนให้เหมาะสม แหล่งอาหารหยาบที่จะนำไปเลี้ยงแพะ ทุนทรัพย์ เวลาที่จะทุ่มเทให้กับการเลี้ยงแพะ

ในกรณีของผู้เลี้ยงแพะรายใหม่ โดยเฉพาะผู้เลี้ยงที่จะเลี้ยงแพะในระบบสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพารา ขอแนะนำให้เริ่มเลี้ยงแพะเนื้อก่อน ทั้งนี้เพราะแพะเนื้อเลี้ยงง่ายกว่า ไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องปริมาณน้ำนมที่รีดได้ การควบคุมคุณภาพของน้ำนมดิบก่อนแปรรูป รวมทั้งการดูแลแม่แพะรีดนม ดังนั้น แม้ว่าผู้เลี้ยงอยากจะเลี้ยงแพะนม แต่หากไม่เคยมีประสบการณ์เลี้ยงแพะมาก่อน ขอแนะนำให้เลี้ยงแพะเนื้อก่อน

2. จะเลือกเลี้ยงแพะพันธุ์อะไร ?

พันธุ์แพะที่จะซื้อมาเลี้ยงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้เพราะพันธุ์แพะที่จะเลี้ยงต้องสัมพันธ์กับแผนการตลาดที่วางเอาไว้

ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเลี้ยงแพะเนื้อในสวนปาล์มน้ำมัน และต้องการนำทางใบปาล์มน้ำมันมาเป็นอาหารหยาบหลัก พันธุ์แพะที่จะเลี้ยงก็ควรเป็นแพะพื้นเมืองภาคใต้ หรือแพะลูกผสมพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีเลือดแพะพื้นเมือง (เช่น แพะลูกผสมแองโกลนูเบียน-พื้นเมือง หรือบอร์-พื้นเมือง หรือแดงสุราษฎร์ หรือ บอร์-ซาเนน-พื้นเมือง มากกว่าจะเป็นแพะเนื้อพันธุ์แท้ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับอาหารหยาบหลักที่จะใช้เลี้ยงแพะ นอกจากนี้ ในกรณีเลี้ยงในสวนปาล์มหรือสวนยาง แพะลูกผสมยังทนต่อความชื้นในช่วงหน้าฝนได้ดีกว่า

การเลี้ยงแพะลูกผสมเลือดสูงกว่า 50% ขึ้นไปจนเป็นพันธุ์แท้ก็สามารถทำได้ จึงแนะนำว่าควรจะวางผังฟาร์มและออกแบบโรงเรือนให้ดีเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการระบายอากาศและความขึ้น รวมทั้งจะต้องเตรียมการเรื่องแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์ให้พร้อม ประการสุดท้าย คือ ควรหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์แพะที่จะเลี้ยงก่อน เช่น อยากจะเลี้ยงแพะบอร์-พื้นเมือง เพื่อรีดนม แบบนี้คงเป็นไปไม่ได้ เพราะทั้งบอร์และพื้นเมืองเป็นแพะเนื้อ เป็นต้น

การเลี้ยงดูแพะ

การเลี้ยงแพะ โดยทั่วไปสามารถแบ่งรูปแบบการเลี้ยงได้ 4 แบบ ดังนี้

  • การเลี้ยงแบบปล่อย ให้แพะหากินเองตามธรรมชาติ และผสมพันธุ์เอง มักเลี้ยงบริเวณที่มีหญ้า กลางวันจะต้อนให้อยู่ที่มีร่มเงามักไม่มีการสร้างคอกหรือโรงเรือน แต่จะปล่อยให้อาศัยตามร่มไม้
  • การเลี้ยงแบบผู้กล่าม เป็นการผูกล่ามแพะไว้กับที่ อาจเป็นหลักไม้ปักหรือเป็นตอไม้หรือตันไม้ที่บริเวณโดยรอบมีหญ้าให้แพะกินเพียงพอ วันหนึ่งอาจมีการย้าย 2-3 จุด เพื่อให้ได้กินหญ้าได้มากส่วนตอนเย็นจะย้ายมาขังคอก
  • การเลี้ยงแบบกึ่งขังคอก ลักษณะคล้ายการเลี้ยงแบบปล่อยแต่จะสร้างคอกหรือโรงเรือนสำหรับกักขังตอนกลางคืน โรงเรือนมีแต่หลังคาเท่านั้น ตอนเข้าต้อนให้แพะออกหากินตามทุ่งหรือที่มีหญ้า
  • การเลี้ยงแบบขังคอก เป็นการเลี้ยงในคอกหรือโรงเรือนตลอดเวลาโดยให้น้ำ และอาหารในคอก แต่อาจมีการปล่อยแพะออกไปหากินข้างนอกบ้าง พื้นคอกมักยกสูง และลาดเอียงหรืออาจเป็นพื้นดินธรรมดา แต่มักรองพื้นด้วยแกลบ

เกษตรกรสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเองโดยพิจารณาจากวัตถุดิบ ประสบการณ์ จำนวนแพะ จำนวนทุน และสภาพแวดล้อมที่เลี้ยง

โรงเรือนและการเลี้ยง

โรงเรือนควรตั้งในพื้นที่ตอน น้ำไม่ท่วม กันแดดกันฝน มีแสงสว่างอากาศถ่ายเท สะอาด และมีรั้วล้อมรอบ ควรยกพื้นสูงจากพื้นดิน 1.50 -1.60 เมตร ปูพื้นด้วยไม้ระแนง ขนาด 1 x 23 นิ้ว ร่องห่างของไม้ 1 นิ้วเพื่อให้มูลแพะลอดผ่านได้สะดวก ภายในโรงเรือนประกอบด้วยรางหญ้า รางอาหารขั้น และภาชนะใส่น้ำ รวมทั้งแขวนก้อนเกลือแร่ให้แพะแทะเลียกินอย่างทั่วถึงและเพียงพอ ดังนี้

  • โรงเรือนพ่อพันธุ์แพะ ขนาด 3 x 5 เมตร เลี้ยงแพะพ่อพันธุ์ 1-2ตัว
  • โรงเรือนแพะรวม ขนาด 6 x 12 เมตร แบ่งซอยเป็นคอกย่อยตามกลุ่มขนาดของแพะ ประกอบด้วย แพะตั้งท้องก่อนคลอด แพะเลี้ยงลูกอ่อน คอกคลอด และคอกอนุบาลลูกแพะ คอกแพะรุ่น
  • โรงเรือนแพะรีดนม ขนาด 4 x 12 เมตร เป็นคอกแพะรวมมีรางหญ้า รางอาหารข้น ภาชนะให้น้ำ ก้อนเกลือแร่อย่างเพียงพอภายในโรงเรือนแพะรีดนม แบ่งเป็นคอกสำหรับรีดนมพื้นที่ 3×3ตารางเมตร ประกอบด้วยเรีตนม และที่เก็ปอุปกรณ์ใช้ในการรีดนม

อาหารและการจัดการอาหารสำหรับแพะ

อาหารเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญและมีผลกระทำต่อการดำรงชีวิตและการให้ผลผลิตของแพะโดยทั่วไปอาหารสำหรับเลี้ยงแพะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ อาหารหยาบ (roughage) และอาหารข้น (concentrate) ในกรณีที่อาหารหยาบมีความสมบูรณ์และมีคุณภาพดี จะมีเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่เพื่อมั่นใจว่าแพะจะไม่ขาดโภชนะตัวใดตัวหนึ่ง จึงควรให้อาหารข้นร่วมด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า “ไม่ว่าแพะจะมีพันธุกรรมดีเพียงใด จะมีระบบภูมิคุ้มกันดีเพียงใด หากมันหิวและขาดโภชนะอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดแพะก็จะอ่อนแอ ป่วย เพราะระบบของร่างกายเสียสภาพ เครียด ภูมิคุ้มกันลดร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับโรคต่าง ๆ”

การดูแลสุขภาพของแพะ

ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา แพะมีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ ดังนี้

  • กำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เห็บ เทา และไร ซึ่งทำให้ตัวสัตว์รำคาญและขนหลุดเป็นหย่อม ๆ หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดี ผลผลิตลดลงการป้องกันแก้ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก
  • กำจัดพยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน ท้องเสีย ผลผลิตลดถ้าเป็นรุนแรงทำให้มีอาการโลหิตจาง และตายการป้องกันแก้ไขโดยปกติถ่ายพยาธิแพะทุก 3 เดือน แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแพะมีพยาธิชุกชุม ให้ถ่ายพยาธิทุก 1 เดือน
  • การป้องกันโรคระบาด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อยโดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรมที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกปี

โรคแพะที่สำคัญ

1. ท้องอืด

สาเหตุ เกิดก๊าซจากการหมักในกระเพาะอาหารเนื่องจากกินหญ้าอ่อนหรือพืชใบอ่อนถั่วมากเกินไป
อาการ กระเพาะอาหารพองลมขึ้นทำให้สวาปทางซ้ายของแพะป่องขึ้น
การป้องกัน

– ไม่ควรให้แพะกินพืชหญ้าหรือพืชกระกูลถั่วที่ชื้นเกินไป
– หลีกเลื่ยงอย่าให้แพะกินพืชเป็นพิษ เช่น มันสำปะหลังหรือไมยราบยักษ์

การรักษาและควบคุม

– ถ้าท้องป้องมากอย่าให้แพะนอนตะแคงซ้าย
– กระตุ้นให้แพะยืนหรือเดิน
– เจาะท้องที่สวาปซ้ายด้านบนด้วยเข็มเจาะหรือมีดเพื่อระบายก๊าซออก

2. ปอดบวม

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ จมูกแห้ง ขนลุก มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หายใจหอบ มีน้ำมูกขัน ไอหรือจามบ่อยๆ
การป้องกัน

– ปรับปรุงโรงเรือนให้อบอุ่น อย่าให้ลมโกรก ฝนสาด

การรักษาและควบคุม

– ใช้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีด 3 วันติดต่อกัน เช่น ไทโลซินคลอแรมเฟนิคอล เตตราซัยคลิน เป็นต้น

3. โรคปากเป็นแผลพุพอง

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ เกิดเม็ดตุ่มเหมือนดอกกระหล่ำขึ้นที่ริมฝีปาก และจมูก อาจลุกลามไปตามลำตัว
การป้องกัน

– เมื่อมีแพะป่วยขึ้นให้แยกออก รักษาต่างหาก
– กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหวี่แมลงวันซึ่งเป็นตัวนำเชื้อไวรัส

การรักษาและควบคุม

– ใช้ยาสีม่วงหรือสารละลายจุลสี 5% ทาที่แผลเป็นประจำวันละ2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
– ควบคุมกำจัดแมลง
– แยกขังตัวป่วยออกจากแพะดี

4. โรคปากและเท้าเปื่อย

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ เกิดเม็ดตุ่มพองขึ้นที่ไรกี่บ ริมฝีปากและเหงือกทำให้เดินขากะเผลกและน้ำลายไหล แต่อาการจะไม่เด่นชัดเหมือนในโค-กระบือ

การป้องกันรักษาและควบคุม

– ดูแลสุขาภิบาลใช้ยาสีม่วงป้ายแผลที่เปื่อยวันละ 1 ครั้ง
– แยกขังแพะป่วยแล้วรักษาให้หาย
– ให้วัคซีนป้องกันทุก 6 เดือน

ที่มา | Sarakaset.com


บทความอื่นที่น่าสนใจ