เป็ดเนื้อ เลี้ยงง่ายโตไว ด้วยสูตรอาหารลดต้นทุน | สาระเกษตร
เป็ดเนื้อ
เป็ดเนื้อ นั้นนับเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่ง เพราะตลาดยังมีความต้องการอยู่อย่างต่อเนื่อง และก็มีแนวโน้มความต้องการที่สูงขึ้นเรื่องๆ เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคเนื้อเป็ดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีการเลี้ยงเป็ดเนื้อกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเลี้ยงเป็ดเนื้อในปัจจุบันนั้น นิยมเลี้ยงกันรายละเป็นจำนวนมากๆ และได้พัฒนาในการเลี้ยงมากขึ้นทั้งในด้านการผสมพันธุ์ พันธุ์เป็ดที่ใช้เลี้ยง อาหาร การจัดการเลี้ยงดู การป้องกันและควบคุมโรค
การเลี้ยงเป็ดเนื้อ นั้นเลี้ยงง่ายและเติบโตเร็ว สามารถใช้อาหารและวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนในระยะเวลาสั้น จำหน่ายได้ง่าย สามารถเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมร่วมกับอาชีพอื่นได้
พันธุ์เป็ดที่นิยมเลี้ยง
- พันธุ์บาร์บารี (Barbary)
ขนสีขาวตลอดลำตัว และมีขนสีดำอยู่กลางหัว ปากสีชมพู เท้าสีเหลืองอ่อน ใบหน้าสีชมพูมีผิวขรุขระ นูนเด่น ไม่มีขน แรกเกิดมีขนสีขาวอมเหลือง มีจุดดำอยู่กลางหัว ปากสีชมพู แข้งสีเหลือง เริ่มไข่เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 5-6 กิโลกรัม ตัวเมีย หนัก 2.5-3.5 กิโลกรัม ผลผลิตไข่ปีละ 150-158 ฟอง/แม่ ฟักไข่เองได้ดี - พันธุ์กบินทร์บุรี (Kabinburi)
ขนสีขาวตลอดลำตัว และมีขนสีดำอยู่กลางหัว ปากสีชมพู เท้าสีเหลืองอ่อน ใบหน้ามีสีชมพูผิวขรุขระนูนเด่นไม่มีขน เริ่มไข่เมื่ออายุ 6 – 7 เดือน ผลผลิตไข่ปีละ 160 – 180 ฟอง/แม่โตเต็มที่เพศผู้หนัก 4.5 – 5.1 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.8 – 3.2 กิโลกรัม สามารถเลี้ยงขุนโดยใช้เวลา 10 – 12 สัปดาห์ - พันธุ์ท่าพระ (Tha pra)
ขนเป็นสีดำมีขนสีขาวแซมที่ปีกและหน้าอก หน้าเป็นปุ่ม หนังนสีแดง ปากสีดำแชมชมพู แข้งสีดำ ตาสีดำ เริ่มไข่เมื่ออายุ 210 วัน ผลผลิตไข่ ปีละ 98 ฟอง/แม่ น้ำหนักเพศผู้เมื่ออายุ 12 สัปดาห์ 3,184 กรัม เพศเมีย 1,915 กรัม โตเต็มที่เพศผู้หนัก 9.1 – 4.5 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.5 – 3.2 กิโลกรัม
สำหรับรูปแบบการเลี้ยงเป็ดนั้นสามารถบ่งออกได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ
- การเลี้ยงแบบหลังบ้าน ซึ่งการเลี้ยงแบบนี้นั้นนิยมเลี้ยงตามชนบท เป็นการเลี้ยง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ไข่หรือเนื้อเป็นอาหารภายในครัวเรือน โดยทั่วไปจะปล่อยให้เป็ดหาอาหารจากแหล่งน้ำเป็นหลัก โดยปล่อยให้เป็ดออกไปหากินเองในแหล่งน้ำธรรมชาติ
- การเลี้ยงแบบเป็นการค้าหรือจำหน่าย เป็นการเลี้ยงเป็ดเป็นจำนวนมากๆ พันธุ์ที่ใช้เลี้ยงจะเป็นพันธุ์ทางการค้าที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว ซึ่งมีการเลี้ยง หลายลักษณะคือ
- การเลี้ยงแบบไล่ทุ่ง เมื่ออายุครบ1 เดือน ก็จะปล่อยลงไปในทุ่งนาเพื่อเก็บกินเมล็ดข้าวที่เหลือและกินกุ้ง ปู ปลา หอย ในทุ่งนา เพื่อเป็นการประหยัดค่าอาหาร หลังจากนั้นจึงต้อนเป็ดเข้าโรงเรือนเพื่อนำไปขุนต่ออีกประมาณ 1 เดือน เพื่อผลิตเป็นเป็ดเนื้อหรือเพื่อเตรียมเป็นเป็ดไข่ต่อไป
- การเลี้ยงแบบปล่อยลาน การเลี้ยงแบบนี้นั้นจะต้องมีลานดินและบ่อน้ำอยู่ใกล้กับโรงเรือน เป็ดจะกินอาหารนอกโรงเรือนและลงเล่นน้ำ อาหารที่ใช้เลี้ยงจะเป็นอาหารข้น
- การเลี้ยงในโรงเรือน จะให้เป็ดอยู่ภายในโรงเรือนตลอด การเลี้ยงแบบนี้ต้องลงทุนมาก แต่จะได้ผลตอบแทนสูง อาหารที่ใช้เลี้ยงจะเป็นอาหารข้น
โรงเรือน
โรงเรือนควรทำจากไม้หรือวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น หลังคามุงด้วยหญ้าคาหรือแฝก มีพื้นที่ 7 ตัว/ตร.ม. ตั้งอยู่ในทิศตะวันออก และมีรางน้ำ รางอาหารที่เพียงพอกับจำนวนเป็ดที่เลี้ยง พื้นควรเป็น พื้นทรายหรือพื้นซีเมนต์จะทำความสะอาดได้ง่ยและควรปูเปลือกข้าวหรือแกลบเป็นวัสดุรองพื้น
การเลี้ยงดู
การดูแลลูกเป็ด 0-7 วัน ควรมีอุปกรณ์ให้น้ำให้อาหาร แผงกั้นกกและเครื่องกก ควรติดตั้งแผงกั้นกกให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร ซึ่งสามารถกกได้ 500 ตัว หรือใช้พื้นที่ในการกกประมาณ 40 ตัว/ตร.ม.
ข้อควรระวัง เนื่องจากลูกเป็ดเนื้อมีอัตราเจริญเติบโตเร็วมากและตื่นตกใจง่าย เมื่อตกใจก็จะวิ่งไปสุมรวมกันและอาจจะทับกันตายและ ขาบาดเจ็บจนเดินไม่ได้
การดูแลเป็ดระยะรุ่น-ใหญ่(7 วัน – จับขาย) ภายในโรงเรือนควรจะใช้ตาข่ายกั้นแบ่งเป็นห้องๆโดยเลี้ยงเป็ด 500 ตัว/ห้อง การให้น้ำควรจะย้ายออกไปอยู่ด้านข้างของโรงเรือน ซึ่งจะทำเป็นพื้นสแลท เพื่อให้น้ำที่หกไหลออกไปนอกโรงเรือนหรืออาจวางไว้บริเวณลาน
การป้องกันโรค
โรคที่สำคัญในเป็ดเทศ ได้แก่
- โรคอหิวาต์ ควรทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ ปีละ 4 ครั้งโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือนำยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กิน ติดต่อกัน 2-3 วัน
- กาฬโรคเป็ด ควรทำการฉีดวัคซีนป้องกันกาฬโรคเป็ด ปีละ 2 ครั้ง โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ ดูแลความสะอาดเล้า และอุปกรณ์ต่างๆ เสมอ ก็จะทำให้การป้องกันโรคได้ผลดียิ่งขึ้น
- การให้แสงสว่าง วันละ 14-16 ชั่วโมง จะช่วยให้เป็ดไข่ดีขึ้นจึงต้องเปิดไฟสว่างขนาด 20 วัตต์ ต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 24 ชั่วโมง คือ หัวค่ำเปีดไฟถึง 3 ทุ่ม และอีกครั้งหนึ่งเวลาเข้ามืด 5-6 โมงเช้า
สอบถามรายละเอียดได้ที่
กองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ กรมปศุสัตว์ โทร. 0 2653 4444 ต่อ 3371 โทรสาร 0 2653 4930
E-mail : drasa2@dld.go.th, www.royal.dld.go.th
บทความอื่นที่น่าสนใจ