เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย เลี้ยงง่ายโตไว ทนต่อโรค
เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย
ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ปลาดุกลูกผสมอุย – เทศ หรือ บิ๊กอุย นั้น เป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี และเป็นที่นิยมบริโภคของประชาชนเนื่องจากมีรสชาติดี ราคาถูก และเป็นอาหารโปรตีนที่ย่อยได้ง่าย
ดุกด้าน ดุกอุย และดุกบิ๊กอุยมันแตกต่างกัน อย่างไรบ้างล่ะ ?
ปลาดุกอุย และปลาดุกด้านเนี่ยเป็นปลาพื้นเมืองของเราส่วนบิ๊กอุยนะเป็นปลาลูกผสมเกิดจากพ่อปลาดุกรัสเซียหรือดุกเทศ ผสมกับแม่ปลาดุกอุย แต่ละชนิดแยกง่ายๆ โดยดูที่กะโหลกครับ
แนวทางการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่นำมาใช้เพาะพันธุ์ควรเป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ หรือต้องเป็นปลาที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 20 ชม. ขึ้นไป หรือน้ำหนักประมาณ 200 กรัม
ปลาดุกเพศเมียที่ดีในการเพาะพันธุ์ดูได้จากส่วนท้องจะอูมเป้งไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ติ่งเพศจะมีลักษณะกลมสีแดง หรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบา ๆ ที่ท้องจะมีใช่ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีน้ำตาลอ่อนใสไหลออกมาปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียว มีสีชมพูเรื่อ ๆ ปลาไม่ควรอ้วนหรือผอมจนเกินไป
พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกอุยหาได้จาก 3 แหล่งใหญ่ ๆ คือ
- ซื้อจากตลาด ทำได้ดพาะบาลแห่งท่านั้น ควยปืนเหล่งใหญ่ที่เกษตรรราปลามาจำหน่ายโดยตรง เพราะจะมีปลาให้เลือกมาก และไม่ช้ำ แต่ต้องไปตลาดแต่เต่เช้า และแม่ค้าปลามักจะไม่ขอมให้เลือกเพราะเสียเวลา แม่ค้าอีกประเภทหนึ่งที่จะสามารถเลือกปลาได้สะดวกก็คือ แม่ค้ารายย่อยที่เอาปลาท้องนามาขาย แต่มีข้อเสียคือไม่แน่นอน
- ซื้อจากบ่อเลี้ยง โครคิดต่อบ่อที่เลี้ยงปลาตุกฮุย และคอยไปกัดมือมีการวิดบ่อ วิธีนี้ค่อนข้างไม่สะดวกโดยเฉพาะบ่อเลี้ยงที่เลี้ยงปลาดุกอุยเป็นปลาเสริมโดยอาจเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ๆ เช่น ปลาสลิด แม่ปลามักมีใช่แก่จัด ปลามีขนาดใหญ่มาก แต่ถ้าเป็นบ่อเลี้ยงปลาดุกอุยล้วน แม่ปลามักจะอ้วนเกินไป ตัวค่อนข้างเล็ก ไข่ไม่แก่จัด สังเกตได้จากผนังท้องหนา ติ่งเพค่อนข้างแฟบ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเลี้ยงหนาแน่น และให้อาหารมากเกินไป
- เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เอง เป็นวิธีที่ที่สุด แต่ก็มีเพียงไม่กี่ฟาร์มท่องพ่อแม่ทันธุ์ลงอาจเป็นเพราะไม่มีที่ขุดบ่อ และต้นทุนสูง การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เองจะทำให้ได้แม่ปลาตามปริมาณที่ต้องการ สะดวกต่อการวางแผนการเพาะ นอกจากนั้นขังสามารถคัดปลาที่มีลักษณะดี เช่น โตเร็วเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้
ขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น สามารถ เลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน และ บ่อซีเมนต์ โดยมีขั้นตอนการเลี้ยงดังนี้
- การปล่อยลูกปลา
ลูกปลาขนาด 2 – 3 เซนติเมตร ควรปล่อย 40 – 100 ตัวต่อตารางเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดอาหาร ขนาดบ่อ และระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ปกติอัตราการปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัวต่อตารางเมตร ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้น 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตรต่อน้ำ 100 ตัน) - การให้อาหาร
ในวันที่ปล่อยลูกปลายังไม่ต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้ในวันรุ่งขึ้น โดยให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้กิน วันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะบริเวณขอบบ่อ เมื่อโตขึ้น สามารถให้กินอาหารเม็ดได้หรือจะให้อาหารเสริมชนิดต่างๆ เช่น ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่เศษอาหารต่างๆ แต่ควรต้องระวังเรื่องคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงด้วย เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 3 – 4 เดือน จะได้น้ำหนักตัวประมาณ 200 – 400 กรัม ผลผลิตที่ได้ 10 – 14 ตันต่อไร่ อัตรารอดตาย 40 – 70 เปอร์เซ็นต์ - การถ่ายเทน้ำ
เมื่อเริ่มเลี้ยง ควรให้น้ำในบ่อมีความลึกประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร และค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำขึ้นทุก ๆ สัปดาห์จนได้ระดับความลึกของน้ำ 1.20 – 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำในบ่อ 3 วันต่อครั้ง ถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ
การป้องกันโรค
ซึ่งมักเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดีเพราะให้อาหารมากเกินไป อาหารเหลือเน่าเสีย ป้องกันได้โดยหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาไม่กินอาหารแล้วจะต้องหยุดให้ทันที ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวปลา
หมายเหตุ
การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
ควรปรับสภาพของน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อย และต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์ต้องหมดฤทธิ์ปูน
การเลี้ยงในบ่อดิน
ต้องมีการเตรียมบ่อ โดยเริ่มจากการตากบ่อ เพื่อให้พื้นบ่อแห้ง และปรับสภาพพื้นบ่อให้สะอาด จากนั้นใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินแล้วจึงใส่ปุยดอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลา จากนั้นทำการระบายน้ำโดยนำน้ำเข้าบ่อ มีการกรองไม่ไม่ให้ศัตองลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า ต้องปรับสภาพคุณหภูมิของน้ำในถุงและในบ่อให้ใกล้เคียงกัน โดยแช่ถุงบรรจุลูกปลาในบ่อเลี้ยงไว้นานประมาณ 20 นาที จึงปล่อยได้
ตลาดและผลตอบแทน
ตลาดรับซื้อมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ราคาที่เกษตรกรขายได้จะอยู่ที่ราคาประมาณ 20 – 21 บาท ต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ราคาประมาณ 16 บาทต่อกิโลกรัม
บทความอื่นที่น่าสนใจ