(คลิป) เลี้ยงปลาหมอ ขาดทุนยับ ไม่ได้โลกสวย แต่นี่คือเรื่องจริง !!
เลี้ยงปลาหมอ
ปลาหมอไทยเป็นปลาที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยได้ และทนทานต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้มีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ ในปัจจุบัน มีเกษตรกรเลี้ยงปลาหมอไทยกันมากขึ้น แนวโน้มของการเลี้ยงในอนาคตมีลู่ทางแจ่มใส่ เป็นปลาที่มีความอุดทน สามารถเลี้ยงแบบหนาแน่นทั้งในแบบบ่อทั่วไป หรือนากุ้งในพื้นที่น้ำจืด และหากมีการจัดการบ่อที่เหมาะสมถูกต้องแล้ว จะมีปัญหาเรื่องโรคระบาดน้อย
อุปนิสัย ปลาหมอเป็นปลากินเนื้อชนิดหนึ่ง ในธรรมชาติปลาหมอจึงเป็นผู้ล่าสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่ากินเป็นอาหาร ได้แก่ตัวอ่อนของแมลง ลูกปลา เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปลาหมอสามารถกินเมล็ดข้าว เมล็ดธัญพืช ปลวก ตัวอ่อนแมลงน้ำ ตั๊กแตน กุ้งฝอยหรือลูกปลาเล็กปลาน้อยทั้งที่มีชีวิตและตายแล้วเป็นอาหารได้เช่นกันและปลาชนิดนี้ในธรรมชาติเป็นปลาที่กินอาหารที่ผิวน้ำและกลางน้ำดังสุภาษิตที่ว่า “ปลาหมอตายเพราะปาก” เนื่องจากเป็นปลาที่ซอบหาเหยื่อที่บริเวณผิวน้ำ
การเริ่มต้นเลี้ยงปลาหมอไทย
การเริ่มต้นเลี้ยงปลาหมอไทย เริ่มต้นจากการสูบน้ำให้แห้ง เป็นการกำจัดศัตรูปลาที่หลบซ่อนอยู่ในบ่อ ปรับพื้นโคลนเลนพื้นบ่อให้เหมาะสม ควรหว่านปูนขาวในขณะที่ดินเปียก อัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของบ่อ กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่จะเป็นแหล่งหลบซ่อนของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน ปลาดุก กบและงู อีกทั้งเป็นการสะดวกในการให้อาหารปลาและวิดบ่อจับปลา ตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค ฆ่าศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน และทำให้แก๊สพิษบางชนิดในดินสลายตัวไป จากนั้นจึงสูบน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับ 60-80 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงหรืออนุบาลปลา ควรใช้อวนสีฟ้ากั้นรอบคันบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันศัตรูปลาหรือปลาหลบหนีออกจากบ่อ เพราะปลาหมอไทยชอบปีนป่ายโดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตก
การปล่อยลูกปลา
การปล่อยลูกปลานั้น นิยมลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร อัตราปล่อย 30-50 ตัว ต่อตารางเมตร ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการปล่อยลูกปลาคือ ช่วงเวลาเช้าหรือเย็น หลังจากปล่อยลูกปลาแล้วจะต้องสูบน้ำเข้าบ่อให้มีความสูง ระดับ 1.5 เมตร การเลี้ยงปลาหมอไทยเชิงการค้า เน้นการปล่อยเลี้ยงแบบหนาแน่นสูง ใช้ปัจจัยการผลิตทั้งอาหารปลา ยาป้องกันรักษาโรค การเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อปลา เกษตรกรจะต้องมีความพร้อมอย่างเต็มที่เมื่อถึงเวลาหรือเกิดโรคปลาระบาด
สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงแบบยังชีพหรือหัวไร่ปลายนา เลี้ยงในบ่อหลังบ้านหรือร่องสวน คันคูน้ำ มุมบ่อปลาในนาข้าว เป็นการเลี้ยงแบบง่ายๆ ลงทุนไม่สูงมากนัก นอกจากได้อาหารจากธรรมชาติแล้ว ยังใช้เศษอาหารจากครัวเรือน รำละเอียด ปลาสดสับ ปลวก ใช้ไฟล่อแมลงเวลากลางคืน ระยะเวลาเลี้ยงปลาหมอไทย ประมาณ 90-120 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาที่ตลาดต้องการ สภาวะสิ่งแวดล้อมภายในบ่อและสุขภาพของปลา บางรายขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้เลี้ยงกับพ่อค้ารับซื้อ แต่เกษตรกรรายย่อยไม่มีปัญหาด้านการตลาด การจับปลาเป็นอาหารบ้าง ที่เหลือจะขายบ้าง ตามความสะดวกของผู้เลี้ยงมากกว่า ราคาปลาหมอไทยที่ตลาดรับซื้อหน้าบ่อปลาและจับปลาเอง ขณะนี้กิโลกรัมละ 120-150 บาท
ที่มา Youtube Channel : ไผ่หวาน
ดูคลิป : เลี้ยงปลาหมอ ขาดทุนยับ ไม่ได้โลกสวย แต่นี่คือเรื่องจริง !!
บทความอื่นที่น่าสนใจ