เลี้ยงไก่ดำภูพาน เลี้ยงง่าย กินเก่งโตเร็ว ขายได้ราคาดี
เลี้ยงไก่ดำภูพาน
ไก่ดำภูพาน เป็นไก่ดำสายพันธุ์ใหม่ที่งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ศึกษาและพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ ให้ได้ไก่ดำ พันธุ์ดีทนโรคทนต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย กินเก่งโตเร็ว สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและลดต้นทุนการผลิต
ไก่ดำภูพานมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และสารต้านอนุมูลอิสระ ไก่ดำภูพานจึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
ปัจจุบันไก่ดำภูพานเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกรและผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีรสชาติดี เลี้ยงง่าย ทนต่อโรค และเจริญเติบโตเร็ว ไก่ดำภูพานจึงมีศักยภาพที่จะกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต
รูปแบบการเลี้ยงไก่ดำภูพาน
- การเลี้ยงแบบปล่อย เป็นวิธีที่นิยมเลี้ยงกันมาก ตามชนบท ซึ่งผู้เลี้ยงจะสร้างเล้าขนาดเล็กไว้ ให้ไก่ได้หลับนอนเฉพาะกลางคืน และปล่อยไก่ออกหากินอย่างอิสระ ในตอนเช้า โดยเกษตรกรอาจให้ข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือเมล็ดธัญพืชต่างๆช่วยให้ไก่เจริญเติบโตได้ดีขึ้น การเลี้ยงแบบปล่อยนี้ จะช่วยให้ไก่ได้ออกกำลังกายมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่ต้องมั่นใจว่าพื้นที่ ที่ปล่อยจะไม่มีไก่พื้นเมือง อยู่บริเวณใกล้เคียง เพราะอาจมีปัญหาในการผสมพันธุ์ ถ้าไก่ดำภูพานผสมกับไก่พื้นเมืองอาจทำให้ลูกที่ได้มีลักษณะไม่ตรงตามความต้องการ
- การเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย เป็นการเลี้ยงที่พัฒนามาจากการเลี้ยงไก่แบบปล่อยมากักขังบ้างในบางช่วง โดยการสร้างเล้าไก่ให้มีขนาดกว้างขึ้น มีรั้วล้อมกั้นกันไม่ให้ไก่ออกไปหากินไกลๆ จัดหาน้ำและรางอาหารไว้ให้ไก่ รูปแบบการเลี้ยงนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีการเลี้ยงที่ดีและเหมาะสมที่สุด
- การเลี้ยงแบบขังเล้า โดยเกษตรกรต้องสร้างเล้าไก่ที่สามารถกันแดด กันลมและฝนได้ ควรมีรังไข่วางเป็นจุด ตามมุมหรือฝาเล้า พร้อมจัดหาอาหารและน้ำให้ไก่ได้กินตลอดเวลา การเลี้ยงแบบขังเล้า สามารถป้องกันโรคระบาดได้ดี
โรงเรือนเลี้ยงไก่ดำภูพาน
โรงเรือนจะต้องมีความแข็งแรง สามารถกันแดดกันฝนได้ดี แห้ง โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก มีทางระบายน้ำได้ดี ต้องป้องกันภัยจากสัตว์ร้ายต่างๆ และวัสดุที่ใช้ในการสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายราคาถูก แต่สามารถใช้งานได้นาน สถานที่ตั้งของเล้าไก่ ควรให้ห่างจากตั๋วบ้านพอสมควรและอยู่ในที่ดอน ไม่ชื้นแฉะ
การให้อาหาร
หลักการง่ายๆ คือ เกษตรกรจะต้องเอาใจใส่ดูแลในการเลี้ยง สามารถทำได้ดังนี้
- ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน
- ให้อาหารทุกเช้าและเย็น เพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ เช่นปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาปน ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิดเม็ด หรือการให้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าวหรือปลายข้าวหรือข้าวเปลือกเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายและผสมเอง ได้ช่วยให้ไก่เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น
- มีเปลือกหอยบ่น และเศษหินตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินเพื่อเสริมแคลเชียมและช่วยบดย่อยอาหาร
- ให้หญ้าสด ใบกระดิน หรือผักสดให้ไก่กินทุกวัน
การเลี้ยงดูไก่เล็ก
เป็นการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้าน เลี้ยงโดยให้แม่ไก่ทำหน้าที่ในการกกและเลี้ยงลูกเอง จนลูกไก่อายุ 6-8 สัปดาห์ จึงปล่อยให้ลูกไก่ออกหากินเองแยกจากแม่ไก่ในช่วงสัปดาห์แรกลูกไก่ยังไม่แข็งแรง ควรใช้สุ่มครอบหรือขังกรงแม่ไก่กับลูกไก่ไว้โดยให้อาหารและน้ำ
การอนุบาลไก่เล็ก ในกรณีใช้ตู้กไข่ หรือการแยกลูกไก่ออกจากแม่ไก่ เพื่อให้แม่ไก่ได้ไข่เร็วขึ้น หรือซื้อลูกไก่มาเลี้ยง ลูกไก่ต้องการความอบอุ่น จำเป็นต้องมีการกก
ลูกไก่ โดยใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 100 วัตต์แขวนสูงจากพื้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและต้องระวังไม่ให้ลมโกรก ลูกไก่จะต้องมีอาหารและน้ำให้กินตลอดเวลา พื้นคอกรองพื้นด้วยแกลบหนา 5 เชนติเมตร และเปลี่ยนแกลบทุก 1 เดือน
โปรแกรมวัคซีนสำหรับสัตว์ปีก
- วัคชีนนิวคาสเชิล ไก่อายุ 1 และ 30 วัน โดยการหยอดจมูก (ทำซ้ำทุกๆ 3 เดือน)
- วัคซีนฝีดาษไก่ ไก่อายุ 14 วัน โดยการแทงปีก (ปีละ 1 ครั้ง)
- วัคชี้นอหิวาตไก่ ไก่อายุ 1 เดือน โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ทำซ้ำทุกๆ 3 เดือน)
- วัคชีนหลอดลมอักเสบ ไก่อายุ 1 วันโดยการหยอดจมูก (ทำซ้ำทุกๆ 3 เดือน)
การสุขาภิบาล
- ดูแลความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในโรงเรือนและบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำสะอาดและยาฆ่าเชื้อโรคทุกวัน หรืออย่างน้องอาทิตย์ละสองครั้ง
- ลักษณะโรงเรือนนั้นต้องระบายอากาศได้ดี ป้องกันลมโกรก หรือฝนสาด ด้านหน้าประตูเข้าโรงเรือนนั้นต้องมีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับจุ่มเท้าก่อนเข้าโรงเรือน
- ไก่จะต้องได้รับอาหารและน้ำที่สะอาด และประมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันให้พอดีกับความต้องการของไก่ไม่ควรเหลือสะสมไว้ น้ำควรเปลี่ยนเช้า – เย็นทุกวัน
- กรณีไก่ป่วยนั้น ควรแยกไก่ป่วยออกจากฝูง เพื่อป้องกันการระบาดไปยังไก่ตัวอื่นในฝูง 1 ถ้าไก่ป่วยตายควรเผาหรือฝังซากทันทีเพื่อไม่ให้เกิดโรคระบาดต่อ
- ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงหรือมีการเคลื่อนย้าย ไก่อาจป่วยได้ ควรละลายไวตามินให้ไก่กินทั้งฝูง เพื่อให้ไก่แข็งแรงและมีสุขภาพดี
- ทำการถ่ายพยาธิไก่ทุก 2 เดือน อย่างสม่ำเสมอ และควรมีตู้ยาประจำในฟาร์ม เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาบำรุง และไวตามิน
- ก่อนนำไก่จากภายนอกเข้ามาเลี้ยง ควรกักดูอาการก่อน อย่างน้อย 15 วัน ก่อนนำเข้ารวมฝูง
การเลี้ยงไก่ดำภูพาน สามารถจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้มากถึง 3 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับราคาไก่พื้นเมืองทั่วไป โดยใช้ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ไก่ดำภูพาน 1 ตัว จะได้น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.7 – 1 กิโลกรัม ซึ่งเลี้ยงภายใต้ระบบการเลี้ยงปล่อยหากินอิสระ เหมือนการเลี้ยงไก่พื้นเมืองทั้วไป โดยสามารถจำหน่ายได้ตัวละ 200 – 250 บาท ในขณะที่ไก่พื้นเมืองจำหน่ายได้ราคาประมาณตัวละ 60 – 80 บาท เท่านั้น และหากเกษตรมีไก่ดำภูพานแม่พันธุ์ 1 ตัว จะสามารถผลิตลูกไก่ได้เฉลี่ย 40 ตัวต่อปี๊ หากจำหน่ายตัวละ 200 บาท จะสามารถผลิตลูกไก่ได้เฉลี่ย 40 ตัวต่อปี หากจำหน่ายตัวละ 200 บาท จะสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้สูงถึง 5,000 บาทต่อปี และหากเกษตรกรเลี้ยงแม่ไก่รายละ ๓ แม่ จะมีรายได้เฉลี่ยต่อปีสูงถึงประมาณ 24,000 บาท
ขอบคุณที่มารูปภาพ : facebook ฟาร์มไก่ดำภูพาน
ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
บทความอื่นที่น่าสนใจ