การเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง ดูแลง่ายประหยัดพื้นที่
การเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง
ไส้เดือน เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง พบได้ทั่วไปตามที่ชื้นแฉะ ใต้ซากพืช มูลสัตว์ต่าง ๆ นอกจากจะช่วยย่อยสลายซากพืชซากสัตว์แล้ว การขุดและมุดตัวของไส้เดือนยังเป็นการพรวนดินตามธรรมชาติ ทําให้ดินร่วนซุย เพิ่มคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีให้แก่ดิน จึงทําให้ดินเหมาะแก่การเพาะปลูก อากาศถ่ายเท และยังได้รับธาตุอาหารจากมูลของไส้เดือนอีกด้วย
ปัจจุบันจึงมีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนกันอย่างกว้างขวาง เพื่อย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดขยะอินทรีย์ เพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช ดังนั้นก่อนจะเริ่มเลี้ยงไส้เดือนจึงจํเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับสายพันธุ์ อุปนิสัยการอยู่อาศัย ศัตรูของไส้เดือน เพื่อให้การเลี้ยงไส้เดือนประสบความสําเร็จ
ลักษณะของไส้เดือน ทั้ง 3 สายพันธุ์ ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย
ไส้เดือนผลิตปุ๋ย หรือ Composting Worm มีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่ที่เป็นที่นิยม แพร่หลาย ในประเทศไทย มีอยู่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่
- สายพันธุ์ แอฟกัน ไนท์คลอเลอร์ (African Night Crawler) หรือ AF
เป็นตัวสีน้ำตาลแดงปนเทาสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว มีความสามารถ ในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว เป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ในเขตร้อน ซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างร้อน อาศัยอยู่บริเวณผิวดินกินเศษซากอินทรีย์วัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหาร ไส้เดือน AF ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย เป็นสิบปีแล้ว ได้รับความนิยมมากที่สุด คนเลี้ยงกันแพร่หลาย จึงทำให้มีราคาถูกที่สุด ตัวใหญ่ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากกว่าแค่ผลิตปุ๋ย - ไส้เดือนพันธุ์ ไทเกอร์ ( Tiger worms)
ถิ่นกำเนิดจากยุโรป เมืองหนาวไส้เดือนไทเกอร์มีตัวอ้วนสั้นน้ำหนักเมื่อโตเต็มวัยเฉลี่ย 0.5 กรัมยาว ประมาณ2-4นิ้ว ลำตัวมีสีแดงสลับสีเหลืองเป็น ลายเสือระยะเวลาโคคูนซัก 18 -26วัน ระยะเวลาลูกไส้เดือนเล็กเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว 28 -30วัน สภาพอุณหภูมิที่เหมาะสม 250 C-300 c แต่ทนความหนาวได้ถึง 0 c และทนความร้อนได้ถึง 40 c เป็นไส้เดือนที่มีกำหนดในสภาพอากาศหนาวของทวีปยุโรป แต่ได้รับความนิยมนำไปเลี้ยงในประเทศต่างๆทั่วโลก ข้อดีของไส้เดือนไทเกอร์คือเลี้ยงง่าย ทนสภาพอากาศร้อนหนาวได้สูงกินเก่งสามารถ ไส้เดือน ไทเกอร์ คือ ไส้เดือนที่ผลิตปุ๋ยที่มี ผู้เลี้ยงมากที่สุดในโลก แต่ในประเทศไทย กลับไม่ใช่แชมป์ อาจจะเพราะว่า ประเทศไทย ไม่มีช่วงที่อากาศหนาวจัด ซึ่งจะเป็น ช่วงที่ ไส้เดือนไทเกอร์ outperform ไส้เดือนเขตร้อนอย่าง บลูเวิร์ม หรือ ไส้เดือน AF - สายพันธุ์บลูเวิร์ม ( Blue worm)
เป็นไส้เดือนสีน้ำเงินมีลักษณะตัวผอมยาวนี่สีม่วงเข้มบางส่วนมองเห็นเป็นประกายสีน้ำเงิน มีความสามารถในการกำจัดขยะอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยหมัก และนำไปผลิตเป็นวัตถุดิบ ในอาหารสัตว์น้ำ เพราะเป็นไส้เดือนที่เลี้ยงง่ายไส้เดือนมีสีน้ำเงินมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีกลิ่นหอมคล้ายดอกโมกเมื่อจับเอาตัวเอามาไว้ในมือ จะขับกลิ่นดอกโมกออกมาจากตัวตามสัญชาตญาณ ( ไส้เดือน บลูเวิร์ม ตอนยังไม่โตเต็มวัย จะดูคล้าย กับ ไทเกอร์มาก )
ประโยชน์ของไส้เดือน
เรามาทำความรู้จักกันกับไส้เดือนก่อนดีกว่าว่าไส้เดือนนั้นคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับการเกษตร ที่สำคัญวิธีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนนั้นทำได้อย่างไร มีกี่สายพันธุ์กันบ้าง
โดยไส้เดือนนั้นปกติแล้วถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นสัตว์สร้างประโยชน์มากกว่าให้โทษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะไส้เดือนดิน หรือเรียกสั้นๆ ว่า ไส้เดือน ที่เป็นคำติดปากสำหรับคนเรา ซึ่งตัวไส้เดือนดินนั้นจะช่วยให้โครงสร้างของดินนั้นดีขึ้น โดยไส้เดือนจะทำการชอนไชทำให้ดินนั้นมีความร่วนซุยมากขึ้น ทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดีขึ้น โดยไส้เดือนดินนั้นสามารถไชลงใต้ดินได้ถึง 20 เมตร เลยทีเดียว ซึ่งวิธีการชอนไชดินนั้นเป็นวิธีการทางธรรมชาติ อีกทั้งตัวไส้เดือนเองก็ยังมีประโยชน์ต่อพืชเป็นอย่างมาก
ทำไมถึงมีประโยชน์ต่อพืช คือ จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้เป็นอย่างดี และยังมีส่วนช่วยให้สามารถรับรู้ได้ว่ามีสารเคมีตกค้างอยู่ในดินหรือไม่ เพราะว่าถ้ามีสารเคมีตกค้างในดิน ดินนั้นก็จะไม่มีไส้เดือนอาศัยอยู่
ปัจจุบันเราได้มีการนำไส้เดือนมาใช้ประโยชน์ในเรื่องของการย่อยสลายอินทรีย์เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมัก อีกทั้งยังใช้ไส้เดือนเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงอีกด้วย ซึ่งไส้เดือนนี้จะเหมาะกับการเป็นอาหารสัตว์จำพวกปลาสวยงาม กบ และยังเป็นเหยื่อไว้ใช้ตกปลาอีกด้วย
รูปแบบวิธีเลี้ยงไส้เดือน
ปัจจุบันนิยมเลี้ยงไส้เดือนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงในกะละมัง เลี้ยงในวงบ่อซีเมนต์ เลี้ยงบนพื้นปูนหรือใต้ต้นไม้ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
- การเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง ทําให้ดูแลและคัดแยกตัวไส้เดือนกับมูลไส้เดือนได้ง่าย สามารถเลี้ยงในรูปแบบคอนโดหรือวางซ้อนกันเป็นชั้น เพื่อประหยัดพื้นที่ แต่มีต้นทุนสูงกว่าวิธีอื่น เช่น ค่ากะละมัง ชั้นวางไส้เดือน เป็นต้น
- การเลี้ยงไส้เดือนในวงบ่อซีเมนต์ ค่อนข้างเย็น ซึ่งเป็นสภาพที่ไส้เดือนพันธุ์ Tiger Worm และพันธุ์ Blue worm ชอบ แต่ใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก คัดแยกตัวและมูลไส้เดือนได้ยาก
- การเลี้ยงไส้เดือนบนพื้นปูนหรือใต้ต้นไม้ ทําให้ได้ ไส้เดือนตัวใหญ่ ประหยัดต้นทุนในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ แต่เสี่ยงต่อการถูกศัตรูของไส้เดือนเข้าทําลาย เช่น มด คางคง อึ่งอ่าง และยังคัดแยกตัวและมูลไส้เดือนได้ยาก
อาหารของไส้เดือน
อาหารของไส้เดือนคือเศษพืชผัก มูลสัตว์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมูลวัว มูลควาย มูลหมู มูลไก่ มูลม้า เศษขยะอินทรีย์จากชุมชน เศษเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยเศษพืช มูลสัตว์ หรือขยะอินทรีย์เหล่านี้จะต้องไม่มีสารเคมี หรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อไส้เดือน
สิ่งที่นํามาใช้เป็นอาหารของไส้เดือนไม่ควรปนเปื้อนน้ํามัน จารบี เนื้อสัตว์ เนื้อปลา เปลือกไข่ หญ้าหรือเมล็ดพืชที่ทําลายยาก วัชพืช มูลหมาหรือแมว เพราะจะเป็นตัวสะสมเชื้ อโรค นําแมลงและศัตรูพืชต่าง ๆ มายังภาชนะเลี้ยงไส้เดือน รวมไปถึงสิ่งที่ทําให้ค่า pH เปลี่ยนแปลงไป เช่น ขี้เถ้า ปูนขาวหรืออาหารที่มีความเปรี้ยวสูง เพราะทําให้ไส้เดือนระคายเคือง เนื่องจากผิวหนังของไส้เดือนค่อนข้างบอบบาง
การเลี้ยงไส้เดือนจะต้องเลี้ยงในบริเวณที่สามารถควบคุมการถ่ายเทของอากาศ อุณหภูมิความชื้น แสงแดด ฝน ได้ในระดับหนึ่ง มีความแข็งแรง คงทน และสามารถป้องกันศัตรูของไส้เดือนได้
การขยายพันธุ์ไส้เดือน
ไส้เดือนดินนั้นเป็นสัตว์ที่มีต่อมเพศทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน คือ ในตัวเดียวจะมีทั้งรังไข่และอัณฑะเจริญเติบโตอยู่ในตัว แต่ทั่วไปจะไม่เกิดการผสมพันธุ์ระหว่างไข่และสเปิร์มในตัวเอง เพราะว่าอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศนั้นจะไม่สัมพันธ์กัน อีกทั้งยังมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ไม่พร้อมกันด้วย จึงทำให้ไส้เดือนนั้นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนสเปิร์มต่อกัน
อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้
อวัยวะเพศผู้สำหรับไส้เดือนนั้นจะมีถุงอัณฑะอยู่ในปล้องที่ 11 กับ 12 โดยจะมีปล้องละคู่ โดยสามารถสร้างสเปิร์มแล้วเก็บไว้ในถึงพัก ซึ่งจะอยู่ข้างๆ ถุงอัณฑะ และมีต่อมสร้างน้ำหล่อเลี้ยงสเปิร์มที่จะมีลักษณะเป็นแผ่นแบนแผ่ออกอยู่บริเวณปล้องที่ 18-20 มีท่อนำสเปิร์มอยู่ และรับสเปิร์มจากปากกรวยไปเปิดที่ช่องสืบพันธุ์ของเพศผู้
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
อวัยวะเพศหญิงนั้นจะอยู่ในปล้องที่ 13 จำนวน 1 คู่ ทำหน้าที่สร้างไข่ และรังไข่แต่ละข้างจะมีท่อนำไข่ โดยทำการรับไข่จากปากกรวยไปเปิดที่ช่องสืบพันธุ์เพศเมีย
แม้ว่าไส้เดือนจะเป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียว แต่ก็จะสามารถที่จับคู่ผสมพันธุ์กันได้ เพราะปกติแล้วไส้เดือนดินนั้นจะทำการผสมพันธุ์กันในช่วงเวลากลางคืนส่วนใหญ่ โดยวิธีการผสมพันธุ์นั้นไส้เดือนดินจะทำการจับคู่กันให้หัวและหางสลับกัน โดยใช้วิธีการให้หน้าท้องติดกัน โดยให้ตำแหน่งของช่องปล่อยสเปิร์มของตัวหนึ่งตรงกับช่องรับสเปิร์มของอีกตัวหนึ่ง โดยจะมีปุ่มสำหรับยึดเกาะในช่วงระหว่างผสมพันธุ์กัน เพื่อให้มีการยึดติดกันและกันไว้ เมื่อเกาะกันจนติดกันแล้วจึงเริ่มปล่อยสเปิร์มของตัวเองไปเก็บไว้ในถึงรับสเปิร์มของอีกตัวหนึ่งทีละคู่จนครบ จึงจะแยกออกจากกัน
จากนั้นเมื่อไส้เดือนที่ได้รับสเปิร์มเรียบร้อยแล้วก็จะเริ่มมาวางไข่ และจะมีการสร้างเมือกหนาขึ้นมาแล้วทำให้แข็งตัว ซึ่งลักษณะของเมือกที่แข็งตัวนั้นจะคล้ายกับปลอก หลังจากนั้นไส้เดือนดินก็จะเริ่มถอยตัวหลังออก จึงทำให้ปลอกนั้นเลื่อนไปทางด้านหัวแทน แต่ในขณะเดียวกันก็จะค่อยๆ มีการปล่อยไข่ออกมาจากช่องของไข่ และปลอกก็จะรับไข่แล้วเคลื่อนไปเรื่อยๆ จนถึงช่องรับสเปิร์ม ถึงจะได้รับสเปิร์มที่รับมาเก็บไว้ และปลอกก็จะถูกดันให้เคลื่อนต่อไปจนหลุดออกจากหัว จากนั้นปลายทั้ง 2 ด้านของปลอกก็จะเริ่มแข็งตัว และกลายเป็นถุงไข่ โดยไข่จะมีขนาด 4-5 มิลลิเมตร ภายในไข่จะมีไข่อยู่ประมาณ 3-5 ใบ และจะใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 1-2 เดือน จึงจะเริ่มฟักตัวออกมาจากไข่นั่นเอง
ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือน
การเลี้ยงไส้เดือน มีรูปแบบการเลี้ยง อาหารที่ใช้เลี้ยงจะแตกต่างกันไป โดยคุณอชิรญา สงวนเนตร เลือกเลี้ยงไส้เดือนในกะละมังเพราะสามารถจัดการได้ง่าย ใช้พื้นที่น้อย และเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ มี ขั้นตอนดังนี้
- เลือก bedding หรือมูลวัวนม 1 ที่มีลักษณะเป็นก้อนสีเหลืองทอง โดยมูลวัวจะต้องไม่มีสารปนเปื้อนประเภทโซดาไฟ ปูนขาว สับปะรด
- นํามูลวัวแช่น้ําทิ้งไว้ประมาณ 1-2 คืน เพื่อทําให้ชื้นคลายความร้อน และย่อยสลายมูลวัวให้เป็นก้อนเล็ก
- นํากะละมังพลาสติก ขนาด 50 ซม. เจาะรูระบายน้ําที่ก้นกะละมัง
- ปล่อยน้ําออกจากถังแช่มูลวัว ตักมูลวัวที่แช่น้ําแล้วใส่ในกะละมังประมาณครึ่งกะละมัง
- ใส่ผัก หรือต้นกล้วยสับบนมูลวัว (จากข้อที่ 4) ประมาณ 1 ใน 4 ของกะละมัง และนํามูลวัวมาโรยทับด้านบน
- นําไส้เดือนมาปล่อยลงกลางกะละมัง ประมาณ 2.5 กรัม จากนั้นนํากะละมังไปวางเรียงบนชั้น รดน้ําให้ชุ่ม โดยรดน้ําสัปดาห์ละครั้ง หรือเมื่อผิวหน้าของอาหารไส้เดือนเริ่มแห้ง
- เมื่อระยะเวลาประมาณ 25 วัน ไส้เดือนกินมูลวัวในกะละมังจนหมด ก่อนเก็บมูลไส้เดือนให้งดน้ํา 1 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถแยกมูลไส้เดือนได้ง่าย
การแยกมูลไส้เดือน
เมื่ออาหารในกะละมังใกล้หมด จะต้องแยกตัวและมูลไส้เดือนเพื่อนําตัวไส้เดือนไปเลี้ยงในอาหารใหม่ และนํามูลไส้เดือนไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การเก็บมูลไส้เดือนให้ใช้ตาข่ายที่ไส้เดือนสามารถลอดได้วางไว้บน bedding ใหม่ และใส่ bedding เก่าที่ต้องการแยกตัวและมูลไส้เดือนไว้ด้านบนตาข่าย ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ไส้เดือนจะย้ายไปอยู่ใน bedding ใหม่ จากนั้นนําไปผึ่งในที่ร่มให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 35% สังเกตได้จากเมื่อใช้มือเก็บมูลไส้เดือนและ ไม่ติดมือ ไม่รู้สึกเปียก จากนั้นนํามาร่อนด้วยตะแกรง ขนาด 3 มม. จะได้มูลไส้เดือนและกากมูลไส้เดือน (มูลวัว ที่ไส้เดือนกินไม่หมด)
หลังจากแยกตัวและมูลไส้เดือนแล้ว มูลไส้เดือนสามารถนําไปใช้หรือบรรจุถุงจําหน่ายได้ส่วนตัวไส้เดือนและกากมูลไส้เดือน ให้นําไปใส่ในอาหารใหม่เพื่อเลี้ยงไส้เดือนต่อไป
ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข
ในการเลี้ยงไส้เดือน หลายคนมักจะเจอกับสารพัดปัญหาที่คนเลี้ยงไส้เดือนส่วนใหญ่มักจะเจอ กันบ่อย ๆ จึงได้รวบรวมปัญหาและวิธีการแก้ไขไว้ดังนี้
- ปัญหาเกี่ยวกับ ไรแดง ไรขาว
วิธีการแก้ไขปัญหา ใช้น้ําหมักสะเดาผสมน้ําฉีดพ่นบาง ๆ 2 – 3 วัน/ครั้ง รักษาความชื้นไม่ให้อาหารเลี้ยงไส้เดือนแห้งจนเกินไป - ปัญหาเกี่ยวกับ มด
วิธีการแก้ไขปัญหา หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอาหารของมด ให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม กับระยะเวลาในการเลี้ยง และไม่ปล่อยให้ bedding แห้งจนเกินไป - ปัญหาเกี่ยวกับ นก หนู กบ จิ้งจก ตุ๊กแก
วิธีการแก้ไขปัญหา นําตาข่ายมาคลุมป้องกัน และรักษาความสะอาดของพื้นที่ เลี้ยงอยู่เสมอ - ปัญหาเกี่ยวกับ ไส้เดือนหาย/ไส้เดือนคลาน ขึ้นมาบนขอบภาชนะ
วิธีการแก้ไขปัญหา อาหารเลี้ยงไส้เดือนมีความร้อน เป็นกรด และชุ่มน้ํามากเกินไป ทําให้ไส้เดือนหนีออกจากภาชนะ ดังนั้นจึงควรหมักหรือแช่มูลวัวให้อุ้มน้ําและเย็น ก่อนจะนํามูลสัตว์ มาใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
อ้างอิงที่มา | อาจารย์อชิรญา สงวนเนตร บรรยายในงานมหกรรมในหลวงรักเรา ภูมิพลังแผ่นดิน วันที่ 3 ธันวาคม 2564
เครดิตภาพ : ฟาร์มไส้เดือนเจ้หลุย
บทความอื่นที่น่าสนใจ