บทความเกษตร » ไผ่บงหวาน พืชทางเลือกใหม่ รสชาติหวานกรอบ ดูแลง่าย

ไผ่บงหวาน พืชทางเลือกใหม่ รสชาติหวานกรอบ ดูแลง่าย

4 เมษายน 2023
1005   0

ไผ่บงหวาน พืชทางเลือกใหม่ รสชาติหวานกรอบ ดูแลง่าย

ไผ่บงหวาน

ไผ่บงหวาน


ไผ่ เป็นพืชที่เราคุ้นเคยมานาน เป็นพีชมงคลชนิดหนึ่งที่ควรหามาปลูกประดับบ้าน บางพื้นที่ก็ปลูกเพื่อการบริ โภคหน่อ บ้างก็ปลูกเชิงการด้าเป็นไม้ใช้สอยเป็นพืชที่ มีประโยชน์นานับประการ ผลผลิตจากผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารที่คนไทยนิยมกันมาก โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสานสามารถนำหน่อไม้มาทำอาหาร ได้ทั้งประเภทแกง ผัด ต้มหรือใช้ถนอมอาหารเก็บไว้กินได้นานๆ

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หน่อไม้ที่ใช้รับประทาน มักจะต้องต้มหรือนึ่ง เพื่อเอารสขื่นทิ้งไป แล้วจึงจะนำมาปรุงอาหารหรือรับประทาน แต่ขังมีหน่อไม้อีกพันธุ์หนึ่งที่เราสามารถรับประทานดิบได้ โดยไม่ต้องต้มเอารสขมทิ้งไปก่อน และมีความหวานกรอบ คล้ายยอดมะพร้าว นั่นคือ ไผ่บงหวาน ด้วยคุณลักษณะเด่นของไผ่ชนิดนี้ น่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่มือนาคตให้แก่เกษตรกร หากมีการรวมกลุ่มหรือปลูกกันอย่างจริงจัง

ข้อคำนึงก่อนตัดสินใจปลูกไผ่หวาน

  • ไม่ควรเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง หรือพื้นที่ลุ่มต่ำ
  • จะต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอ
  • ระขะปลูกที่เหมาะสม ต้องพิจารณาเพื่อให้เข้าไปปฏิบัติดูแลได้สะดวก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินโคกลูกรังจะต้องปรับปรุงดินก่อนปลูกด้วยการใส่ปุ๋ขคอกและปุ๋ขหมัก มีการเตรียมดินก่อนปลูก ด้วยการไถตากหน้าดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นให้ไถอีกครั้งเพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย เหมาะต่อการปลูกไผ่

การเตรียมพื้นที่ปลูก

โดยเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวก สามารถลงมือปลูกได้ทันใบต้นฤดูฝน ถ้าเป็นพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนินหรือมีตอไม้อยู่ต้องไถบุกเบิกกำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบแต่ถ้าเป็นพื้นราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอแล้ว พื้นที่ที่จะปลูก ควรเป็นที่ โล่งไม่มีไม้ใหญ่ เพราะจะบังแสงและแย่งอาหารจาก ไผ่ ถ้าได้พื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะดีมาก เพราะไผ่เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบน้ำขังในแหล่งที่สามารถมห้น้ำได้ตลอดทั้งปี สามารถปลูกไผ่หวานได้ตลอดปีเช่นกัน เริ่มโดยการไถดะ ตากดินไว้สัก 7-10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วไถพรวนให้ดินร่วนซุย แล้วขุดหลุมปลูกส่วนระยะปลูก จะใช้ระยะระหว่างต้นเท่าใด ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูก พิจารณาดังนี้

  • ระยะปลูก 3 x 3 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ 178 ต้นต่อไร่
  • ระยะปลูก 3.5 x 3.5 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ 131 ต้นต่อไร่
  • ระยะปลูก 4 x 4 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ 100 ต้นต่อไร่

การปลูกระยะห่าง 2×4 เมตร และ 3×3 เมตร ถือว่าสะดวก และเหมาะสมกับการจัดการกับแปลงปลูกควรปลูกไผ่บงหวานในช่วงก่อนเข้าฤดูฝน คือเดือนมีนาคม-เมษายน เพราะต้น ไผ่จะมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าการปลูกในช่วงฤดูฝน เหตุผลคือ ต้นไผ่จะตั้งตัวและออกรากก่อนเข้าฤดูฝน เมื่อฝนมาก็จะทำให้ไผ่เจริญเติบโตเร็วมาก แต่หากปลูกในช่วงฤดูฝน ต้น ไผ่ก็ต้องการปรับสภาพในช่วงแรก บางครั้งฝนตกมากน้ำขังแฉะ ก็ทำให้ต้นไผ่ชะงัก การเจริญเติบโตบ้าง วิธีการปลูกก่อนฤดูฝนจะดีกว่าปลูกในฤดูฝน

ไผ่บงหวาน

วิธีการปลูก

ขุดหลุมปลูกขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 30-50 x 30-50 x 30-50 เซนติเมตร แล้วใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุมผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้วประมาณ / กิโลกรัม และสารฆ่าแมลงฟูราคาน 1 ช้อนแกง (10 กรัม) คลุกเกล้ากับดินคนให้ทั่ว แล้วใส่ลงไปในหลุมส่วนหนึ่งแล้วจึงนำถุงต้นกล้าไผ่หวาน ใช้ดินส่วนที่เหลือกลบให้ถึงโคนจนพูน กลบโคนให้แน่น อนึ่ง ก่อนปลูกควรนำกล้าพันธุ์วางไว้กลางแจ้งสัก 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อให้ต้นกล้าพันธุ์ชินกับสภาพแสงแดด ช่วงที่ปลูกใหม่ๆ หากไม่มีฝนตกต้องช่วยรดน้ำประมาณ 2 – 3 วัน/ครั้ง

การให้น้ำ

ให้น้ำด้วยการขังให้ท่วมแปลงแล้วปล่อยให้แห้งภายใน 1 วัน หรือให้ด้วยระบบสปริงเกอร์ก็ได้ซึ่งการให้ด้วยระบบสปริงเกอร์ จะช่วยให้มีออกซิเจนในอากาศเพิ่มขึ้น ทำให้บรรยากาศในสวนปลอดโปร่ง มีส่วนช่วยให้ไผ่ออกหน่อดกมากขึ้น การให้น้ำ ควรดูตามสภาพอากาศช่วงปกติ ให้น้ำวันละครั้งช่วงผลิตนอกฤดู กวรให้น้ำเพิ่มเป็น 2-3 ครั้ง วัน แต่ให้ในระยะเวลาสั้นๆ ถ้าเป็นช่วงฤดูฝน ถ้าฝนตกเรื่อยๆดินขึ้นตลอด ไม่ต้องให้น้ำ ถ้าฝนขาดช่วง สังเกตว่าดินแห้ง จึงค่อยให้น้ำ

การให้ปุ๋ย

ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเช่น มูลวัว มูลควาย มูลไก่ มูลหมู และวัสดุที่เหลือจากภาคเกษตรกรรมเช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ ขี้เถ้า กากถั่วเหลือง ใบไม้แห้ง เป็นต้น ใส่ที่ โคนไผ่กอละประมาณ 5-10 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย และจะใส่ปุ๋ยยูเรียสูตร 8-24-24 หรือ 13-13-21 ใส่สลับกับปุ๋ยยูเรีย กอละ 0.5-1 ขีด เพื่อเพิ่มความหวานให้หน่อไผ่ ใส่ปุ๋ยปีละ 3-4 ครั้ง ใส่ครั้งแรกช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม แล้วให้น้ำตามและ 2-3 เดือน ก็ใส่อีกครั้ง โดยใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีทุกครั้ง การนำปุ๋ยหมักมาเป็นวัสดุใส่โคนไผ่ เพื่อช่วยในการอุ้มน้ำให้มีความชุ่มชื้น และช่วยทำให้ดินร่วนซุย สามารถแทงหน่อออกมาได้ง่าย จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำเจือจางรดผสมร่วมไปด้วยก็ได้

การดูแลรักษาที่เน้นเป็นพิเศษ

  • ในช่วง 1 ปีแรก ต้องหมั่นตัดหญ้าต้องดูแลให้ส่วนไผ่สะอาด และไปร่งอยู่อย่างสม่ำเสมอแต่เมื่อไผ่มีอาย 2 ปีขึ้นไป ต้นไผ่มีใบปกคลุมให้ร่มเงาแล้ว แสงแดดส่องไม่ถึงหญ้าก็จะไม่ขึ้น ก็จะลดภาระการตัดหญ้าลงไป
  • เรื่องการสางก่อไผ่ ไผ่จะมีการแตกหน่อเจริญเป็นลำไผ่ และจะมีกิ่งแขนงเล็กๆ ที่แตกออกมาตาม ส่วนต่างๆมากมาย จะต้องใช้มีดหรือกรรไกรตัดแต่งกึ่งแขนงเหล่านั้นออกให้หมด ให้กอไผ่มีแต่ลำไผ่หลักเท่านั้น ต้องหมั่นสางกอให้ทรงต้นโปร่ง แปลงสะอาดอยู่เป็นประจำ
  • การพิจารณาเลือกไว้ลำไผ่นั้นให้เลือกลำไผ่ที่อวบใหญ่ และมีทิศทางการเจริญเติบโตเป็นกอใหญ่และมีหน่อมากขึ้นในฤดูถัดไป
  • สิ่งที่สำคัญคือ ต้องหมั่นระวังไฟป่า หรือมีแนวกันไฟรอบสวนไผ่จะดีมาก

การทำให้ออกหน่อนอกฤดู

ประมาณเดือนพฤศจิกาขน ของปีที่ 2 ที่เริ่มปลูกไผ่ให้เริ่มทำการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งต้น โดย 1 กอ จะเหลือลำหลังการตัดแต่งกิ่งเพียง 8-12 ลำเท่านั้น วิธีตัด ให้ตัดชิดพื้นดิน เลือกลำต้นที่สมบูรณ์คงไว้หลังการตัดแต่งเสร็จ ให้ขุดดินรอบๆ กอ ลึก 1 หน้าจอบ ใส่ปุ๋ขกอก กอละ 1-2 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 13-13-21 กอละ 1-2 ขีดร่วมกับปุ๋ยหมัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของแต่ละกอ กลบดินให้แน่น ระหว่างนี้ดินยังมีความชื้นอยู่ ปุ๋ยที่ถูกฝังไว้จะค่อยา ละลายและปลดปล่อยธาตุอาหารไปเรื่อยๆ ให้น้ำสม่ำเสมอประมาณต้นเดือนมีนาคม ไผ่หวานจะเริ่มทยายเเทงหน่อออกมา โดยธรรมชาติของไผ่จะมีความทะวายอยู่แล้วแม้ไม่ได้รคน้ำ ก็สามารถออกหน่อได้ตามปกติ เพียงแต่ปริมาณและคุณภาพอาจจะไม่มาก หรือดีเท่ากับการให้น้ำเพียงพอและสม่ำเสมอ

ศัตรูที่สำคัญ

  • หนู จะกัดกินหน่ออ่อน วิธีป้องกันและกำจัดควรใช้กับดัก ถ้าระบาดมาก อาจจะมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมี เช่น ซิงฟอสไฟด์ ราคูมิน แต่ไม่ควรใช้ในแปลงที่อยู่ในบริเวณบ้าน เพราะอาจสร้างปัญหากับสัตว์เลี้ยงได้
  • ตุ่น อ้น เม่น กัดกินหน่ออ่อน เหง้า ทำให้ไผ่ตายได้ วิธีการป้องกันกำจัดให้ใช้กับดักหรือเบ็ดคักในรูตุ่นหรืออ้น
  • เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย จะดูดกินน้ำเลี้ยง ที่กาบหน่ออ่อนจะทำให้เนื้อแข็งและมีเส้นใย ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้หน่อไม้ไผ่หวานรสชาติเปลี่ยนไป วิธีการป้องกัน คือ รักษาแปลงให้สะอาด ตัดแต่งกอให้โปร่งและควรลอกกาบที่มีเพลี้ยเกาะอยู่ ไม่ควรใช้สารเคมี เพราะจะมีผลต่อผู้บริโภค
  • ด้วงงวง เจาะดูดกินน้ำเลี้ยงและวางไข่ในหน่ออ่อน ทำให้หน่อเหี่ยวตาย วิธีการป้องกันและกำจัดคือ ให้รักษาแปลงให้สะอาด เมื่อพบตัวแก่ให้จับไปทำลาย ไม่ควรใช้สารเคมีฉีดพ่น

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร


บทความอื่นที่น่าสนใจ