บทความเกษตร » หอยทำเงิน เลี้ยงหอยขม อาชีพเสริมเลี้ยงง่ายขยายพันธุ์เร็ว

หอยทำเงิน เลี้ยงหอยขม อาชีพเสริมเลี้ยงง่ายขยายพันธุ์เร็ว

19 พฤษภาคม 2023
750   0

หอยทำเงิน เลี้ยงหอยขม อาชีพเสริมเลี้ยงง่ายขยายพันธุ์เร็ว

เลี้ยงหอยขม

เลี้ยงหอยขม


ในปัจจุบันนั้นหอยขมในประเทศเหลือน้อยลงและใกสัสูญพันธ์ เนื่องมาจากการใช้สารเคมีจากการทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ แต่ความนิยมในการนำหอยขมมาทำเป็นอาหารนั้นยังมีอยู่ และรสชาตินั้นก็อร่อยถูกปากของคนไทยโดยเฉพาะทางอีสานและในปัจจุบันนั้นปริมาณของหอยขมลดน้อยลงมาก ไม่เพียงพอต่อการรับประทานหรือนำมาเป็นอาหาร รวมทั้งมีความต้องการในตลาดสูงมากเพราะรสชาติดีหอยขมจึงถือว่าเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอีกตัวก็ว่าได้

หอยขม (Filopaludina martensi munensis)

เลี้ยงหอยขม

หอยขม หรือในบางท้องถิ่นเรีอกว่า หอยจุ๊บ หรือหอยดูด เป็นที่รู้จักกันดีและมีขายในตลาดทั่วไป เป็นหอยฝาเดียว ที่พบเฉพาะในแหล่งน้ำจืดเท่านั้น นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงคั่วหอยขมแกงอ่อมหอยขม และอื่น ๆ โดยส่วนมากจะพบจากแหล่งธรรมชาติ โดยชาวบ้านในท้องที่เก็บมาขาย หรือพบบริเวณบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นผลพลอยได้สำหรับเจ้าของบ่อเลี้ยงปลา แต่ในปัจจุบันมีการทำฟาร์มเพื่อการเพาะเลี้ยงหอยขมในกระชังโดยเฉพาะ หอยขมเป็นสัตว์ที่มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมเลี้ยงง่าย เจริญเดิบโตเร็ว และขยายพันธุ์เร็ว

รูปแบบวิธีการเลี้ยงหอยขม

สำหรับการเลี้ยงหอยขมนั้นมีรูปแบบการเลี้ยงที่นิยมกันไม่กี่วิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่ของผู้เลี้ยงว่าสะดวกและเหมาะสมกับวิธีไหนมาที่สุด พอสรุปวิธีการเลี้ยงหอยขม ได้ดังนี้

  • การเลี้ยงหอยขมในบ่อซีเมนต์
  • การเลี้ยงหอยขมในกระชัง
  • การเลี้ยงหอยขมเลียนแบบธรรมชาติ (บ่อดิน, ร่องสวน)

การเลี้ยงหอยขมในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงหอยขมในบ่อซีเมนต์

สำหรับการเตรียมบ่อวงบ่อซีเมนต์ หรือ บ่อปูนแบบก่อสีเหลี่ยมนั้น ในการเตรียมบ่อใหม่ นั้นควรทำการฆ่าเชื้อและกลิ่นของปูนก่อน เหมือนกันกับการเตรียมบ่อ สำหรับ เลี้ยงกุ้งฝอย หรือ การเครียมบ่อ เลี้ยงปูนา ซึ่งสามมารถทำได้ดังนี้

  • นำวงบ่อซีเมนต์ตามขนาดที่ต้องการมาเติมน้ำจนเกือบจะเต็มบ่อซีเมนต์ เพื่อเป็นการทำให้น้ำขังอยู่กายในบ่อซีเมนต์
  • นำหขวกกล้วยที่ผ่านการสับมาแล้ว ผสมกับมูลสัตว์ ในการผสมทั้งสองส่วนนี้ เพื่อเป็นการกำจัดกลิ่นและคราบของบ่อซีเมนต์ออกไป ทิ้งน้ำที่อยู่ในบ่อซีเมนต์ไว้นานประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะมีตะ ไคร่น้ำขึ้นที่บริเวณขอบภายในบ่อซีเมนต์ ก็สามารถนำบ่อซีเมนต์ไปใช้ในการเลี้ยงหอยขมได้

การเลี้ยงหอยขมในกระชัง

การเลี้ยงหอยขมในกระชัง เป็นวิธีการเลี้ยงที่ค่อนข้างง่าย ลงทุนต่ำ และสะดวกในการเลี้ยงมากที่สุด จึงเป็นวิธีที่นิยมกันมาก และที่สำคัญยังสามารถประยุกต์เลี้ยงกับสัตว์น้ำอื่น ๆ ได้ เช่น แขวนกระชังเลี้ยงร่วมกันในบ่อเลี้ยงปลานิล หรือบ่อเลี้ยงปลาชนิดอื่น ๆ ได้ ซึ่งเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่สร้างรายได้ระหว่างการเลี้ยงสัตว์น้ำอื่น ๆ ได้อย่างลงตัว ซึ่งมีวิธีการดังนี้

การเลี้ยงหอยขมในกระชัง

  • ใช้กระชังขนาดความกว้างประมาณ 3 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร และมีความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร
  • นำกระชังไปผูกในแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งที่มีหอยขม โดยให้กระชังที่มุมล่างและมุมบนของกระชังทั้งสี่ด้านยึดติดกับเสาทั้ง 4 ต้น หรือให้เพิ่มบริเวณตรงกลางให้ความยาวของกระชังอีกด้านละต้น ให้รวมกันได้ทั้งหมด 6 ต้น ให้ขอบบนของกระชังอยู่เหนือจากระดับน้ำประมาณ 20-30 เซนติเมตร พยายามอย่าให้กันกระชังติดกับพื้นดิน
  • ใส่ทางมะพร้าวสด ขนาดยาว 1 เมตร ลงไปในกระชัง 2-3 ชิ้น พยายามอย่าให้ทางมะพร้าวซ้อนทับกัน และควรผูกไว้ เพื่อไม่ให้ทางมะพร้าวทับก้นกระชัง
  • นำหอยขมขนาดใหญ่ หรือขนาดที่โตเต็มไว้สำหรับพร้อมรับประทานได้แล้วลงไปในกระชัง จำนวน 2 กิโลกรัมต่อกระชัง โดยการกัดเลือกหอยขมที่ยังสดใหม่อยู่ ซึ่งสังเกตได้จากการนำหอยขมไปแช่ในน้ำทิ้งไ ว้ แล้วถ้หากหอยขมคว่ำตัวติดกับภาชนะ นั่นหมายความว่าหอยขมยังมีชีวิตอยู่ และสดใหม่
  • วันที่สองให้ยกทางมะพร้าวขึ้นดูว่าพบหอยขมขนาดเล็กๆเกาะตามทางมะพร้าวหรือไม่ ซึ่งทางมะพร้าวที่แช่อยู่ในน้ำนานๆ จะเน่าเปื่อขผุพัง จึงจะต้องมีการเปลี่ยนทางมะพร้าวใหม่ทุกๆเดือน เดือนละ 2-3 ครั้ง หอยขมที่เลี้ยงในกระชังจะเกะกินตะไกร่น้ำและซากน่าเปื่อยอยู่ตามทางมะพร้าว ตลอดจนบริเวณด้านข้างและก้นกระชัง โดยมิให้อาหารเสริมนอกเหนือจากนี้

หลังจาก 2 เดือน จึงจะทยอยคัดเลือกเก็บหอยขมตัวใหญ่ขึ้นมาเพื่อนำมารับประทาน หรือจำหน่าย เพื่อไม่ให้หอยขมอยู่กันหนาแน่นเกินไป จะทำให้หอยขมเจริญเติบโตช้า

การเลี้ยงหอยขมเลี่ยนแบบธรรมชาติ (บ่อดิน, ร่องสวน)

  • ปล่อยพันธุ์หอยขมขนาดประมาณ 60 ตัวต่อกิโลกรัม จำนวน 2 กิโลกรัม โดยการตัดทางมะพร้าวขนาด 1-2 เมตร ปักลงไปเป็นจุดๆให้ทั่วร่องสวน
  • เมื่อทางมะพร้าวเน่าเปื่อยหรือมีตะไคร่ จับ หอยขมจะเข้ามาเกาะและกินตะไคร่น้ำเป็นอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารอื่นๆนอกจากตะไคร่น้ำจากการขังน้ำไว้ วิธีนี้ใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือน เท่านั้น ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างน้อยมาก จากจำนวนที่ปล่อยประมาณ 2 กิโลกรัม ระยะเวลาในการเลี้ยง 6 เดือน แต่ผลผลิตหอยขมที่ได้นั้นจะได้ทั้งหมด 100 กิโลกรัม ถือว่าเป็นวิธีการที่ได้ผลผลิตสูงมากและใช้เวลาน้อย จึงนิยมใช้วิธีนี้กันเป็นจำนวนมาก

การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์หอยขม

พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ของหอยขมที่ใช้เลี้ยงมีอายุตั้งแต่ 3 เดือน เลือกพ่อแม่หอยขมที่มีขนาดใหญ่ หรือโตเต็มวัย ซึ่งสังเกตได้จากน้ำหนักตัวของหอยขมที่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 60- 100 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่งหอยขมนั้นจะมี 2 เพศ คือทั้งเพศผู้และเพศเมียในตัวเดียวกัน ดังนั้นหอขขมสามารถผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเอง และเมื่อมีอายุครบ 60 วัน จะออกลูกเป็นตัว ครั้งละประมาณ 40-50 ตัว

อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงหอยขม

  • อาหารที่ใช้เลี้ยง เป็นอาหารปลาที่ผสมกับข้าวเหนียวที่นึ่งสุก นำมาตำให้ละเอียด จากนั้นปั้นเป็นลูกขนาดเล็กๆ ประมาณเท่าหัวแม่มือ ให้บ่อละประมาณ 5 ลูก ความถี่ในการให้อาหาร 2-3ครั้งต่อสัปดาห์
  • ในบ่อเลี้ยงหอยขมจะใส่ผักตบชวาหรือใส่ใบไม้แห้งลงไป เพื่อใช้เป็นอาหารให้แก่หอยขมอีกช่องทางหนึ่ง แต่มีข้อควรระวังในการให้อาหารก็คือ จะต้องมีการดูแลและทำความสะอาดของน้ำ อย่าให้เกิดเน่าเสีย เพราะจะทำให้หอยขมตายได้ แนะนำควรเติมน้ำหมักชีวภาพลงไปบ้างเพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ
  • อาหารของหอยขมที่สำคัญ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช และสัตว์ขนาดเล็ก ตะไคร่น้ำ พืชน้ำ ซากเน่าเปื่อยของใบไม้ และอินทรีย์สารต่างๆ ที่เป็นตะกอนในดินโคลน

ระยะเวลาในการเลี้ยง

ในการเลี้ยงหอยขมนั้น โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงหอยขมประมาณ 2 เดือน จะสามารถเริ่มจับขายได้ แต่ในการจับนั้นจะต้องทยอยจับ เนื่องจากหอยขมจะมีการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน และมีหลากหลายขนาด ควรเลือกหอยที่โตเต็มวัยก่อน ส่วนตัวที่เล็กจะต้องเลี้ยงต่ออีกระยะหนึ่งจึงจะสามารถจับขายได้ ครั้งหนึ่งจะจับขายได้ประมาณ 30-50 กิโลกรัม ซึ่งราคาขายจะอยู่ที่ประมาณ 50-60 บาท

ประโยชน์ของหอยขม

  • สามารถนำมาเป็นอาหารสำหรับในการรับประทานได้ เช่น แกงคั่วหอยขม ซึ่งหอยขมที่นำม๋ารับประทานควรดัมหรือทำให้สุกเสียก่อน เพราะอาจมีไข่พยาธิติดมาด้วยหรือหอยขมในแหล่งน้ำใกล้โรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งน้ำเสียชุมชน ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน เพราะอาจปนเปื้อนโลหะหนักได้
  • สรรพคุณสำหรับการใช้ทางยา เช่น แก้กระบัยปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงกระดูกรักษาอาการปวดกระดูก ขับของเสียต่างๆ ในร่างกาย เช่น เมือกมันในลำไส้ บำรุงถุงน้ำดี ขับนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ปวดศีรษะ
  • เป็นอาหารให้แก่สัตว์ เช่น เป็ด ปลาคุก ปลาไหล ตะพาบน้ำ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผลดีของการเลี้ยงสัตว์จำพวกนี้ เพื่อเป็นงานอดิเรก เพื่อหารายได้และกำไรเลี้ยงชีพ หรือด้วยเหตุผลอื่นๆที่ไม่ใช่เลี้ยงหอยขมเพื่อทำกำไร จะเป็นผลดีและประโยชน์มาก

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง

  • ปสุสัตว์.คอม, หอยขม และการเลี้ยงหอยขมศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง (สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สงขลา) การเลี้ยงหอยขม
  • สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากรากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพมอลลัสกาในประเทศไทย หอยฝ่าเดียวน้ำจืด
  • กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอุดรธานี, เทคนิคการเลี้ยงหอยขม

บทความอื่นที่น่าสนใจ