บทความเกษตร » การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย (Free-range system) ไก่แข็งแรง ไข่สม่ำเสมอ

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย (Free-range system) ไก่แข็งแรง ไข่สม่ำเสมอ

27 พฤษภาคม 2023
1744   0

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย (Free-range system) ไก่แข็งแรง ไข่สม่ำเสมอ

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย


การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย (Free-range system)  หมายถึง ระบบการจัดการเลี้ยงไก่ที่ปล่อยให้ไก่ได้ออกมาภายนอกคอกหรือโรงเรือนได้อย่างอิสระ โดยเป็นพื้นที่ที่มีหญ้าปกคลุม 5 ตารางเมตร/ไก่ไข่ 1 ตัว ส่วนพื้นที่ในโรงเรือน 1 ตารางเมตร/ไก่ไข่ 4 ตัว ทำให้ไก่ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ เช่น การคลุกฝุ่นการไชร้ขน การจิกกินพืช ผัก แมลง ทำให้ไก่มีความสุข อารมณ์ดี จึงเรียกว่า “Happy Chicken”

สายพันธุ์ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยง

ใช้พันธุ์ไก่ไข่ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม กินอาหารในท้องถิ่นได้ดี และไม่ตัดปาก พันธุ์ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยง มีดังนี้

  • ไก่โรดไทย (Rhode Thai) เป็นไก่พันธุ์แท้กึ่งเนื้อกึ่งไข่ลักษณะประจำพันธุ์ ขนลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเปลือกไข่สีน้ำตาล ใช้ประโยชน์ได้ทั้งการเลี้ยงเพื่อให้เนื้อและไข่ อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก 168 วัน น้ำหนักเมื่อให้ไข่ฟองแรก 2,045 กรัม อัตราการให้ไข่ 94 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตไข่ 240 ฟอง/ตัว/ปี น้ำหนักไข่เฉลี่ย 55 กรัม/ฟอง น้ำหนักโตเต็มที่ 2,358 กรัม
  • ไก่ไข่ไทยกรมปศุสัตว์ ลักษณะประจำพันธุ์ขนลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนปีกสีน้ำตาล สร้อยคอสีน้ำตาลเข้ม ปลายหางมีสีดำ หงอนจักรใหญ่สีแดงสด เหนียงสีแดงใหญ่ ตุ้มหูแดงมีสีขาวเรื่อๆ ปนเล็กน้อย แข้งสีเหลือง ผิวหนังสีเหลือง เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก 169 วัน น้ำหนักตัวเมื่อให้ไข่ฟองแรก 1,717 กรัม อัตราการให้ไข่ 86-90 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตไข่ 290 ฟอง/ตัว/ปี น้ำหนักไข่เฉลี่ย 59 กรัม/ฟอง
  • ไก่ไข่เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร เป็นไก่พันธุ์แท้ ลักษณะประจำพันธุ์มีขนาดเล็ก ขนสีขาว ให้ไข่เร็ว ให้ไข่ดกไข่เปลือกสีขาว มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารค่อนข้างสูง เพราะมีขนาดเล็กทนร้อนได้ดี เริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 4 เดือนครึ่ง – 5 เดือนให้ไข่ปีละประมาณ 300 ฟอง น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 2.2-2.9 ก.ก. เพศเมีย 1.8-2.2 ก.ก.

โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่

โรงเรือนที่ดีต้องกันแดด กันฝนได้ดี มีรังไข่ 1 รังต่อแม่ไก่ 4 ตัวมีใบตะไคร้รองรังไข่เพื่อป้องกันไร คอนนอนสูงจากพื้น 0.5 เมตร เพียงพอต่อไก่ทุกตัว มีน้ำสะอาดให้ไก่กินได้ตลอดเวลา มีที่ให้อาหารมีม่านกันลม ฝน บริเวณคอนนอนและรังไข่ พื้นคอนกรีต วัสดุรองพื้น เช่น แกลบ หนา 3-5 นิ้ว ไม่ขึ้นแฉะ

การจัดการลานปล่อย

หากเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ จำนวน 100 ตัว ใช้โรงเรือนขนาด50 ตารางเมตร ใช้พื้นที่ปล่อยอิสระ 500 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นแปลงย่อยได้หลายแบบ ดังนี้

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย

การเปิดประตูโรงเรือน ให้เปิดประตูโรงเรือนเพียงประตูเดียวในแต่ละวันตามรอบการหมุนเวียนแปลงหญ้า

  • แบบ 1 ไม่แบ่งแปลงย่อยให้ไก่ออกสู่แปลงหญ้าได้อย่างอิสระในช่วงกลางวัน โดยเปิดประตูสลับด้านให้ไก่ออก
  • แบบ 2 แบ่งเป็นแปลงย่อย 2 แปลง ขนาดเท่าๆ กัน ปล่อยไก่เข้ากินหญ้าแปลงย่อยละ 30 วัน
  • แบบ 3 แบบแบ่งเป็นแปลงย่อย 4 แปลง ขนาดแปลงย่อยเท่าๆ กันปล่อยไก่เข้ากินหญ้าแปลงย่อยละ 10 วัน

การเลี้ยงลูกไก่ อายุ 0-6 สัปดาห์

  • การเตรียมรับลูกไก่ : เปิดเครื่องกกรอไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง อุณหภูมิกก 32-35 องศาเซลเซียส ละลายวิตามินในน้ำดื่มเตรียมไว้ให้เรียบร้อย
  • พื้นที่การกก : ลูกไก่ 100 ตัว/ พื้นที่ 1 ตารางเมตร มีแผ่นการ์ดล้อมรอบให้ลูกไก่อยู่ในรัศมีความร้อน และ ควรกำจัดความชื้นภายในโรงเรือนกกให้แห้ง สะอาดไม่เปียกชื้น
  • การระบายอากาศ : เปิดผ้าม่านเมื่อรู้สึกอบอ้าว มีจุดประสงค์ เพื่อระบายความชื้น และอากาศเสียออกจากพื้นที่กก ส่วนอากาศดีจากภายนอกจะไหลเข้ามาแทนที่
  • การให้น้ำและอาหาร : ลูกไก่ควรได้รับน้ำทันทีที่ปล่อยลงพื้นที่กก หลังจากลูกไกได้กินน้ำอย่างทั่วถึงแล้วจึงเริ่มให้อาหาร ควรให้อาหารที่มีโปรตีนสูง 19 เปอร์เซ็นต์กินแบบเต็มที่ โดยให้ครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง ทำให้ลูกไก่ได้กินอาหารใหม่และกระตุ้นการกินอาหารได้มากขึ้น
  • การให้แสงสว่าง : อายุ 0-4 สัปดาห์ ให้แสงสว่าง 23 ชั่วโมง
  • การสุ่มชั่งน้ำหนัก : เพื่อคำนวณหาน้ำหนักเฉลี่ยแล้วนำมาเปรียบเทียบกับน้ำหนักมาตรฐาน ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรื่องอาหารต่อไป

การเลี้ยงไก่รุ่นถึงสาว อายุ 6 – 16 สัปดาห์

  • การให้อาหาร : ให้อาหารที่มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ควบคุมอาหารให้ไก่ได้กินประมาณ 85% เพราะไม่เช่นนั้นไก่จะเป็นสาวให้ไข่เร็วเกินไปกว่าอายุที่ควร วิธีการให้อาหารไก่กินตั้งแต่เช้าจนถึงเวลา 15.30 นาฬิกา ให้แขวนถังอาหารขึ้น และปลดถังอาหารลงในเช้าวันรุ่งขึ้น ปฏิบัติแบบนี้ทุกวัน

การเลี้ยงไก่ระยะให้ไข่ อายุ 17 สัปดาห์ – ปลด

  • การให้อาหาร : เมื่อไก่ให้ไข่ฟองแรกให้เปลี่ยนอาหารสำหรับไก่ไข่ที่มีโปรตีน 16% จำกัดให้กินประมาณ 120 กรัม/ตัว/วันหากให้อาหารเต็มที่แล้วเปอร์เซ็นต์ให้ไข่ยังต่ำ ให้คัดไก่ที่หยุดให้ไข่ออกจากฝูง ซึ่งมีลักษณะหงอนเหี่ยวเล็กลง สีของหงอนไม่สดใสและเพื่อความมั่นใจให้จับไก่วัดกระดูกเชิงกราน แม่ไก่ที่ให้ไข่กระดูกเชิงกรานจะกว้างมากกว่า 2 นิ้วมือ ส่วนไก่หยุดไข่กระดูกเชิงกราน แคบชิดกันมีความกว้างประมาณ 1 นิ้วมือ

สูตรอาหารและวิธีการให้อาหาร

นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน ให้อาหารวันละ 2 มื้อ โดยมี ส่วนผสมดังนี้

  • หยวกกล้วยสด  3 กิโลกรัม
  • หยวกกล้วยหมัก  2  กิโลกรัม
  • รำละเอียด  6  กิโลกรัม
  • ปลายข้าว   0.5 กิโลกรัม
  • แกสบหยาบ  5  กิโลกรัม
  • ข้าวเปลือก ให้บางครั้งในเป็ดกำลังไข่
  • น้ำหมักชีวภาพหอยเซอรี่ หรือเศษปลา 1/2 แก้ว
  • นำหมักชีวภาพผลไม้สุก 1 แก้ว

รวมกันทั้งหมดจำได้ประมาร  17 กิโลกรัม

ส่วนผสมน้ำให้ไก่กิน

        น้ำสมุนไพรสดทุบแช่น้ำ น้ำสมุนไพร 1(ฟ้าทะลายโจร ไพล ขมิ้นชัน บอระเพ็ด) แก้ว/น้ำ 1 แกลลอน

สูตรอาหารไก่เล็ก สำหรับลูกไก่เล็ก 30 ตัว ลูกเป็ด 20 ตัว

  • ปลายข้าว 0.3 กิโลกรัม
  • รำละเอียด 0.8 กิโลกรัม
  • น้ำหมักหอย/ปลา 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำหมักผลไม้สุก 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีใช้ คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมด ผสมน้ำพอหมาดๆ ให้ลูกเป็ดลูกไก่กิน

         การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยจะต้องเป็นการปล่อยให้ไก่ได้ออกจากคอกอย่างอิสระในพื้นที่มีพืชธรรมชาติหรือแปลงหญ้าให้ไก่ได้จิกกินพืช สมุนไพร แมลงหนอนตามธรรมชาติอย่างเพียงพอ เมื่อเวลาเข้าคอกเพียงมีอาหารเสริมจำพวก คาร์โบไฮเดรท เช่น รำปลายข้าว ข้าวเปลือก ข้าวโพด  ในกรณีพื้นที่เลี้ยงปล่อยมีแหล่งอาหารธรรมชาติไม่เพียงพอ จำเป็นต้องให้อาหารที่ครบตามความต้องการของไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย

       ดังนั้นการเลี้ยงไก่แบบปล่อยนี้ผู้เลี้ยงจะต้องศึกษาทดลองสูตรอาหารที่เหมาะสมให้กับไก่ด้วยตนเอง เนื่องจากระบบนิเวศและทรัพยากรที่เป็นแหล่งอาหารของแต่ละพื้นที่เลี้ยงไม่เหมือนกัน มีการเรียนรู้ปรับประยุกต์ใช้ให้ตรงกับทรัพยากรที่มีอยู่และตามความต้องการของสัตว์ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ให้ผลผลิตตามพันธุ์


บทความอื่นที่น่าสนใจ